ล่าสุด ทีมกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งในเด็ก นำโดย ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง , รศ.นพ.สามารถ ภคกษมา และ พญ.พรชนก เอี่ยมศิริรักษ์ ทีมกุมารแพทย์ด้านโรคเลือดและมะเร็งในเด็กอันดับต้นของเมืองไทย ได้นำวิธีรักษาใหม่ โดยเอาไขกระดูกจากพ่อแม่มาใช้ในการปลูกถ่ายไขกระดูก หรือที่เรียกว่ากระบวนการรักษาแบบ Haploidentical Hematopoietic Stem Cell Transplantation เพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคธาลัสซีเมีย ให้กับเด็กๆ ได้สำเร็จ ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้เนื่องจากเซลล์ไขกระดูกของทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเข้ากันได้ มีปฏิกิริยาต่อต้านเป็นอย่างมาก จึงทำให้ผู้ป่วยเด็กหลายรายจำเป็นต้องใช้เวลาในการรอไขกระดูกที่เข้ากับผู้ป่วยได้เป็นเวลานาน ทำให้ผู้ป่วยเด็กบางรายเสียชีวิตจากโรคก่อนได้รับการรักษา สร้างความกังวลใจและการรอคอยให้กับผู้เป็นพ่อเป็นแม่ที่ต้องการให้ลูกหายจะอาการและโรคเสียที
โดยผู้ป่วยจะได้รับเคมีบำบัดเพื่อกดภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยก่อน เมื่อผู้ป่วยเข้ามารักษาในหอผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูกจะได้รับยาเคมีบำบัดเพิ่มเติมเพื่อช่วยล้างเซลล์ให้ไขกระดูกมีที่ว่างพอสำหรับเซลล์ใหม่ พ่อแม่ที่บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตจะได้รับการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดขาวประมาณ 4-5 วัน และจะเก็บเซลล์โดยใช้เครื่องเก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตและนำมาให้กับผู้ป่วย หลังจากนั้นประมาณ 2-3 สัปดาห์เซลล์ของพ่อแม่จะทำงานเต็มที่ ผู้ป่วยเด็กจะกินยากดภูมิคุ้มกันประมาณ 6 เดือน
เป็นเรื่องที่น่ากังวลใจของพ่อแม่อย่างมาก เพราะผู้ป่วยเด็กเหล่านี้จะพลาดโอกาสในการใช้ชีวิตวัยเด็กไปอย่างน่าเสียดาย เขาเหล่านั้นจะไม่มีโอกาสโลดแล่นใช้ชีวิตที่แสนสุขสดใส เช่นเดียวกับเด็กที่ปกติ และอาจหมดโอกาสเติบโตเป็นอนาคตของชาติต่อไป เด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 15 ปี มีอุบัติการณ์เป็นโรคมะเร็งสูงถึง 1,200 รายในแต่ละปี โรคมะเร็งเด็กที่พบมากที่สุดคือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ส่วนโรคอื่นๆ ก็เช่น โรคมะเร็งสมอง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
โรคมะเร็งต่อมหมวกไต ส่วนโรคมะเร็งไต โรคมะเร็งกระดูกและกล้ามเนื้อลาย โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งตา ฯลฯ สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมีเพียง 1-3% เท่านั้นที่อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ เช่น โรคมะเร็งตา ส่วนโรคมะเร็งในเด็กชนิดอื่นไม่มี
ข้อมูลแน่ชัดว่าสาเหตุคืออะไร อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งในเด็กมีโอกาสรักษาหายได้มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมของเซลมะเร็งของโรคมะเร็งในเด็กมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก ทุกๆเซลล์มีลักษณะคล้ายคลึงกันในคนๆเดียวกัน จึงตอบสนองต่อการรักษาเหมือนกันและตอบสนองได้ดีมาก
เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก แบ่งเป็น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน และโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 90 จะเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน โดยร้อยละ 80 ของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันในเด็กเป็นชนิด acute lymphoblastic leukemia (ALL) ส่วนอีกประมาณร้อยละ 20 เป็นชนิด acute myeloid leukemia (AML) ซึ่งในปัจจุบันอัตราการรอดชีวิตที่หมายถึงการหายขาดจากโรคของ ALL มีได้ประมาณร้อยละ 80 จากการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด ส่วน AML มีอัตราการรอดชีวิตประมาณ
ร้อยละ 50 จากการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด แต่ถ้าได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูกตั้งแต่ระยะแรกจะมีโอกาสรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 เช่นเดียวกัน
การรักษาจะใช้ยาเคมีบำบัดเป็นหลักในระยะเวลาประมาณ 1-3 ปี แล้วแต่ชนิดของโรคมะเร็ง ซึ่งโอกาสที่จะหายขาดจากโรคมะเร็งในเด็กจะมีมากกว่าผู้ใหญ่เพราะการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมของเซลล์มะเร็งในเด็กมีการเปลี่ยนแปลงไม่มาก จึงตอบสนองการรักษาได้ดีมาก โดยทั่วไปมีอัตราการหายขาดและรอดชีวิตประมาณร้อยละ 75 ซึ่งหลังจากหยุดการรักษาไปอย่างน้อย 5 ปีแล้วไม่มีโรคกลับอีกมักหายขาดจากโรค
ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีโรคที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด โดยผู้ป่วยจะต้องอยู่ในห้องปลอดเชื้อประมาณ 1-2 เดือนเพื่อรอให้เม็ดเลือดต่างๆ สร้างได้ตามปกติก่อน จึงจะออกมาจากห้องปลอดเชื้อได้
การปลูกถ่ายไขกระดูก วิธีการนี้ไม่ต้องรับการผ่าตัดหากแต่เป็นการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง ซึ่งอาจใช้ร่วมกับการฉายแสงเพื่อทำลายไขกระดูกเดิม จากนั้นนำเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) มาจากไขกระดูกบริเวณกระดูกสะโพกด้านหลังของผู้ให้ไขกระดูกมาให้กับผู้ป่วยทางเส้นเลือดเพื่อที่เซลล์เหล่านั้นจะเข้าไปในไขกระดูกและสร้างเซลล์เม็ดเลือดตามปกติ ทั้งนี้การดูดไขกระดูกไม่ได้เกี่ยวกับไขสันหลังดังนั้นวิธีการนี้จึงไม่เสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต นอกจากนี้การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกยังสามารถใช้เพื่อการรักษาโรคที่มีความผิดปกติของกระดูกอื่นๆ เช่น โรคธาลัสซีเมีย และโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น อย่างไรก็ดีเซลล์ตัวอ่อนจากผู้ให้จะต้องมีเนื้อเยื่อ HLA (Human Leukocyte Antigen) ตรงกันกับผู้ป่วย โดยผู้ที่จะมีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกันได้จะต้องเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน แต่โอกาสที่พี่น้องท้องเดียวกันจะมีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกันเพียง 25% เท่านั้น ดังนั้นไม่ได้หมายความว่าพี่น้องของผู้ป่วยจะมีโอกาสให้ไขกระดูกกับผู้ป่วยได้ทุกราย สำหรับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่พี่น้องท้องเดียวกันที่จะมีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกันกับบุคคลทั่วๆ ไปมีโอกาสประมาณ 1: 50,000 เท่านั้น ดังนั้นการที่บุคคลอื่นจะมีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกันกับผู้ป่วยแต่ละรายจะต้องทำการค้นหาในบุคคลเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทยมีศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลผู้บริจาคไขกระดูกเหมือนในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามโอกาสที่มีผู้บริจาคที่มีเนื้อเยื่อ HLA ตรงกันกับผู้ป่วยในประเทศไทยมีโอกาสประมาณร้อยละ 50
*โปรดระบุ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่