Samitivej’s New

ศูนย์ Critical Care Complex

“เทคโนโลยีทางการแพทย์รุ่นใหม่อันทันสมัยเป็นแรงบันดาลใจให้โรงพยาบาลสมิติเวชเพิ่มมาตรฐานห้องผ่าตัดให้ดียิ่งขึ้น ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อมอบการรักษาที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยทั้งในและต่างประเทศ”

ศูนย์การแพทย์แห่งใหม่ Critical Care Complex เป็นผลงานซึ่งใช้เวลาการก่อสร้างนานถึงสองปี และเป็นผลงานชิ้นสำคัญอันแสดงถึงความร่วมมือระหว่างศัลยแพทย์และทีมงานทุกคน รวมทั้งสถาปนิก วิศวกร ผู้ให้คำปรึกษา และบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำมากมาย ภายในศูนย์การแพทย์แห่งใหม่ เราภูมิใจนำเสนอห้องผ่าตัดใหม่ 8 ห้อง ห้องคลอด 5 ห้อง หน่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤติ และห้องไอซียูใหม่จำนวน 16 ห้อง ทั้งหมดเหล่านี้ถูกออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ศัลยแพทย์และทีมพยาบาลให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ อีกทั้งห้องผ่าตัดใหม่ทั้ง 8 ห้องยังประกอบไปด้วยเครื่องมือแพทย์อันทันสมัย เพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยได้อย่างดีเยี่ยม

ประสบการณ์

ของคุณหมอ

ศูนย์ Critical Care Complex (CCC) ของสมิติเวชถูกสร้างขึ้นเพื่อเพิ่มมาตรฐานทางการรักษาและการผ่าตัด นอกจากทีมศัลยแพทย์แล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากศูนย์การแพทย์แห่งใหม่นี้คือผู้ป่วย ซึ่งถือเป็นคนสำคัญที่สุดของเรา เนื่องจากทีมศัลยแพทย์ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการออกแบบศูนย์ไปจนกระทั่งการเลือกสรรวัสดุและอุปกรณ์ จึงทำให้แต่ละห้องมีความเฉพาะเจาะจงเหมาะสำหรับการผ่าตัดแต่ละประเภท และส่งเสริมการรักษาของศัลยแพทย์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อ่านประสบการณ์ของคุณหมอได้ที่นี่

สมิติเวชมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่ Critical Care Complex สามารถสร้างมาตรฐานทางการแพทย์ใหม่ให้แก่โรงพยาบาลในประเทศไทย และเป็นศูนย์การแพทย์ที่มีความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้:

ความปลอดภัย

ผู้ป่วย คือ คนสำคัญของเรา Critical Care Complex จึงถูกออกแบบสภาพแวดล้อมให้ช่วยลดทอนความเครียด แต่ยังคงปลอดเชื้อโรค และมีความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย ดังนั้น ห้องผ่าตัดใหม่จึงประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้:

เขตปลอดเชื้อ

ทุกห้องผ่าตัดมีระบบกรองอากาศลามินาร์ (Laminar Airflow) ติดตั้งอยู่บนเพดาน เพื่อฟอกอากาศด้วยการปล่อยม่านอากาศบริสุทธิ์ลงมาสร้างเป็นโซนอากาศสะอาดบริเวณพื้นที่ผ่าตัด ซึ่งโซนอากาศสะอาดนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้อากาศที่อาจปนเปื้อนฝุ่นผงหรือเชื้อแบคทีเรียจากภายนอกผ่านเข้ามาในห้องผ่าตัดได้ นับเป็นการลดความเสี่ยงเรื่องการติดเชื้อซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการผ่าตัดทุกชนิด

ผนังห้องป้องกันแบคทีเรีย

ห้องผ่าตัดใหม่ของเรามาพร้อมกับผนังแก้วแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ล่าสุดในฝั่งยุโรป ผนังทุกด้านภายในห้องผ่าตัดถูกเคลือบและสร้างเป็นแผ่นเดียวกันโดยไร้รอยต่อ จึงง่ายต่อการทำความสะอาด และสามารถป้องกันการสะสมของเชื้อโรค ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้เป็นอย่างดี

พื้นที่และชุดชั้นวางอุปกรณ์

ห้องผ่าตัดใหม่มีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอสำหรับจัดวางเครื่องมือทางการแพทย์ที่จำเป็นทุกชิ้น อีกทั้งชุดชั้นวางอุปกรณ์ผ่าตัดลักษณะเป็นแขนกลถูกติดตั้งให้สามารถดึงลงมาจากเพดานได้ ทำให้ไม่มีส่วนสัมผัสพื้นด้านล่าง ซึ่งห้องผ่าตัดดีไซน์ใหม่นี้นอกจากช่วยลดจำนวนสายไฟแล้ว ยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นภายในห้องผ่าตัดด้วย

กำแพงตะกั่ว

การผ่าตัดประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์จำเป็นต้องตรวจดูอวัยวะภายในด้วยเครื่องเอกซเรย์พิเศษ (Fluoroscope) โดยใช้สารทึบรังสีร่วมกับการถ่ายภาพเอกซเรย์ เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีที่ใช้ในการผ่าตัด ศัลยแพทย์ พยาบาล และผู้ป่วยทุกคนต่างใส่ชุดป้องกันรังสี แต่กระนั้นเพื่อความปลอดภัยขั้นสูง กำแพงห้องผ่าตัดใหม่ของเราจึงถูกฝังด้วยตะกั่ว ป้องกันรังสีรั่วไหลออกสู่ภายนอกห้องผ่าตัด เพราะสมิติเวชเราใส่ใจและดูแลทุกคน มิใช่แค่เฉพาะทีมผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น

ห้อง Positive Pressure

เพื่อความสะอาดสูงสุด ความดันอากาศภายในห้องผ่าตัดจำเป็นต้องสูงกว่าความดันอากาศภายนอก ดังนั้นห้อง Positive Pressure จึงถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่ผลักดันฝุ่นและเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอากาศออกจากห้องผ่าตัด และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคผ่านเข้าสู่ห้องเมื่อมีการเปิดประตู

ห้องปลอดเชื้อมาตรฐานระดับสากล

ทุกห้องปฏิบัติการภายในศูนย์ Critical Care Complex มีการควบคุมความสะอาดให้ตรงตามมาตรฐานสากล โดยแบ่งระดับความสะอาดภายในห้องตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้ ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ (Cath Lab) ต้องมีอนุภาคฝุ่นแขวนลอยในอากาศขนาด 0.5 ไมครอนขึ้นไปได้ไม่เกิน 100,000 อนุภาคต่อ 1 ลูกบาศก์ฟุต, ห้องผ่าตัดต้องมีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนขึ้นไปไม่เกิน 10,000 อนุภาคต่อ 1 ลูกบาศก์ฟุต และห้องปฏิบัติการผสมเทียม (Assisted Reproductive Technology Laboratory) ต้องมีอนุภาคขนาด 0.5 ไมครอนขึ้นไปไม่เกิน 1,000 อนุภาคต่อ 1 ลูกบาศก์ฟุต

การวางผังโครงสร้างอย่างพิถีพิถัน

ทีมศัลยแพทย์ของเรามีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่ใช้สอยอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ตอนเริ่มต้นกระบวนการ ห้องต่างๆ ถูกออกแบบมาให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันตามความต้องการของศัลยแพทย์ ที่ศูนย์การแพทย์ใหม่แห่งนี้ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องถูกเคลื่อนย้ายไปยังอาคารอื่นหรือออกนอกพื้นที่ของ Critical Care Complex การที่ห้องต่าง ๆ อยู่ในพื้นที่เดียวกันและบางห้องถูกออกแบบให้อยู่ชิดติดกัน ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยและลดความเสี่ยงซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

อาทิเช่น ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ (Cath Lab) ถูกออกแบบให้อยู่ติดกับห้องผ่าตัดหัวใจ ส่วนห้องผ่าตัดทางสูตินรีเวชจะเชื่อมต่อกับห้องปฏิบัติการผสมเทียม (Assisted Reproductive Technology Laboratory) เพื่อให้สูตินรีแพทย์สามารถเก็บไข่ส่งตรงเข้าห้องปฏิบัติการได้ทันที หากลดระยะเวลาเคลื่อนย้ายไข่และอสุจิลงได้ การผลิตตัวอ่อนก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ทั้งห้องผ่าตัดทางสูตินรีเวชและห้องปฏิบัติการผสมเทียมยังอยู่ใกล้กับห้องคลอดธรรมชาติ เพื่อพร้อมรองรับกรณีที่คุณแม่จำเป็นต้องผ่าคลอดฉุกเฉินด้วย

ความเฉพาะเจาะจง

ศูนย์ Critical Care Complex ถูกออกแบบด้วยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับศัลยแพทย์เพื่อให้แต่ละห้องมีความเฉพาะเจาะจงแตกต่างกันไปตามความจำเป็นทางการแพทย์ ห้องผ่าตัดใหม่ทั้งแปดห้องมีดังต่อไปนี้

• OR 1: ห้องผ่าตัดหัวใจ

• OR 2: ห้องผ่าตัดกระดูก / ห้องผ่าตัดสมอง

• OR 3: ห้องผ่าตัดกระดูก

• OR 4: ห้องผ่าตัดส่องกล้อง 3 มิติ

• OR 5: ห้องผ่าตัดส่องกล้อง 3 มิติ

• OR 6: ห้องผ่าตัดทั่วไป

• OR 7: ห้องผ่าตัดทั่วไป / ห้องผ่าตัดทางสูตินรีเวช

• OR 8: ห้องผ่าตัดทางสูตินรีเวช และการผสมเทียม

ห้องคลอด (Birth Unit)

Critical Care Complex มาพร้อมห้องคลอดโฉมใหม่ตกแต่งในบรรยากาศผ่อนคลายและอบอุ่น เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการคลอดธรรมชาติ อาทิ อุปกรณ์บรรเทาอาการเจ็บท้องคลอดหลากหลายชนิด รวมถึงอ่างน้ำอุ่นสำหรับการคลอดบุตรในน้ำ ซึ่งน้ำที่ใช้เป็นน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต จึงมั่นใจได้ว่ามีความสะอาดปลอดภัยแก่คุณแม่และลูกน้อย

นอกนี้เรายังออกแบบให้แต่ละห้องสามารถเป็นได้ทั้งห้องรอคลอดและห้องคลอดภายในห้องเดียวกัน เตียงนอนพักสามารถปรับเปลี่ยนให้เป็นเตียงสำหรับคลอดบุตรได้ทันทีเมื่อคุณแม่พร้อมโดยไม่จำเป็นต้องย้ายจากหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง และหากยังไม่ถึงเวลาคลอด คุณพ่อคุณแม่สามารถพักผ่อนหรือติดต่อกับครอบครัวได้อย่างสะดวกสบายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและหน้าจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่มีบริการภายในห้อง

ห้องปฏิบัติการผสมเทียม (Embryology Laboratory)

ห้องปฏิบัติการผสมเทียมใหม่ของเรามีมาตรฐานระดับนานาชาติและมีเทคโนโลยีล้ำสมัย ทำให้สามารถสร้างสภาวะแวดล้อมของตัวอ่อนได้ใกล้เคียงธรรมชาติ และเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ให้มีมากขึ้น หนึ่งในความท้าทายของการสร้างห้องปฏิบัติการใหม่ของเราคือ ความต้องการเพิ่มขีดความสามารถด้านการรักษาให้มากยิ่งขึ้นโดยยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานทางการแพทย์อย่างดีเยี่ยม เราจึงสร้างห้องปฏิบัติการผสมเทียมที่มีลักษณะเฉพาะต่อไปนี้:

• ระบบไฟชนิดไม่เรืองแสงซึ่งปลอดภัยสำหรับตัวอ่อน

• ห้อง Air Shower ซึ่งเปรียบเสมือนห้องทำความสะอาดร่างกายของเจ้าหน้าที่ด้วยลมก่อนเข้าไปภายในปฏิบัติการ เพื่อลดจำนวนอนุภาคฝุ่นตามร่างกายให้เท่ากับมาตรฐานความสะอาดของห้องปฏิบัติการ นั่นคือต้องมีอนุภาคฝุ่นแขวนลอยในอากาศขนาด 0.5 ไมครอนขึ้นไปไม่เกิน 1,000 อนุภาคต่อ 1 ลูกบาศก์ฟุต

• หลังกระบวนการเก็บไข่ ไข่จะถูกเก็บรักษาไว้ใน Pass Box ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิเดียวกับภายในร่างกายของแม่ ก่อนนำส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อให้ทีมแพทย์เริ่มขั้นตอนการผสมเทียม ด้วยวิธีการเช่นนี้ทำให้สามารถเก็บรักษาไข่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

• ระบบกรองอากาศแบบ HEPA filters (High-efficiency particulate arrestance filters) ซึ่งถูกติดตั้งไว้บนเพดาน มีหน้าที่ปล่อยอากาศสะอาดเข้าสู่ภายในห้อง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมบริสุทธิ์และปราศจากแบคทีเรีย

• เครื่องมือและอุปกรณ์ผลิตจากวัสดุที่คัดสรรมาแล้วว่าเอื้ออำนวยต่อการผลิตตัวอ่อนให้มีสภาพที่ดีและสมบูรณ์ที่สุด ตัวอย่างเช่น สายของถังแก๊สทำมาจากสเตนเลสสตีลเพื่อรักษาคุณภาพแก๊สให้คงที่

• มาตรการควบคุมความชื้นภายในห้องปฏิบัติการอย่างเคร่งครัด เนื่องจากความชื้นที่มากเกินไป อาจส่งผลให้เกิดราขึ้นในบริเวณห้อง เครื่องมือ/อุปกรณ์ หรือแม้กระทั่งไข่ได้

ห้องพักฟื้นหลังการผ่าตัด (Recovery Room)

หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชม. ภายในห้องพักฟื้นนี้ โดยทุกเตียงมีปุ่มให้ผู้ป่วยกดเรียกพยาบาลประจำตัวได้เมื่อต้องการ นอกจากนี้เรายังมีห้องพักฟื้นสำหรับผู้ป่วยเด็กโดยเฉพาะแยกต่างหากอีกด้วย

ห้องไอซียู และซีซียู (ICU and CCU)

ห้องไอซียูใหม่ของเราประกอบไปด้วย:

• ห้องพักผู้ป่วยแต่ละห้องประกอบด้วยหน้าต่างกระจกบานใหญ่ ทำห้ผู้ป่วยสามารถมองเห็นวิวภายนอก และรับรู้วันเวลาได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดความเครียด และป้องกันภาวะเพ้อคลั่งในไอซียู (ICU psychosis) ให้แก่ผู้ป่วยได้ในคราวเดียวกัน
• ในห้องไอซียูนี้ เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางคอยให้การดูแลผู้ป่วยหลังเข้ารับการผ่าตัดตลอด 24 ชม.
• ชั้นวางอุปกรณ์รูปแบบใหม่ซึ่งไม่กินพื้นที่การทำงานของแพทย์ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะในกรณีฉุกเฉินหรือเมื่อแพทย์ต้องการใช้อุปกรณ์จำนวนมากในการรักษาผู้ป่วย

• เพราะความรวดเร็วเป็นหนึ่งในปัจจัยด้านการรักษาที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยภาวะวิกฤต เราจึงติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำอยู่หน้าห้องพักผู้ป่วยทุกๆ ห้อง เพื่อให้แพทย์และพยาบาลรับหรือส่งข้อมูลของผู้ป่วยแต่ละรายได้อย่างเฉพาะเจาะจงและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลอัลตราซาวนด์ หรือแม้กระทั่งการสั่งยา หรือสั่งตรวจเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ทันที
• ห้องน้ำขนาดเล็กในทุกห้องพัก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยกรณีต้องการเข้าห้องน้ำด้วยตนเอง แต่พยาบาลยังคงให้การดูแลอย่างใกล้ชิดได้
• การดูแลจากพยาบาลอย่างใกล้ชิดและทั่วถึง ที่สมิติเวชมีพยาบาลมากถึง 70 คนให้การดูแลผู้ป่วยในห้องไอซียู ซีซียู และห้องพักฟื้นทั้งหมด 40 เตียง โดยพยาบาลแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญพิเศษในแต่ละด้าน ในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งมีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤติมานานกว่า 10 ปี รับรองได้ว่าผู้ป่วยทุกคนจะมีพยาบาลประจำตัวที่สามารถให้การดูแลได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

อุปกรณ์ใหม่ทางการแพทย์

ที่ Critical Care Complex เราใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์รุ่นใหม่ล่าสุดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัด เราใช้ศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์อุปกรณ์ต่างๆ นานนับปี จนสามารถเลือกสรรอุปกรณ์ที่ตรงตามความต้องการและมีความทันสมัย อุปกรณ์ใหม่ทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้:

อุปกรณ์ใหม่ทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้:

อุปกรณ์ผ่าตัดแบบส่องกล้อง 3 มิติพร้อมระบบควบคุมความสว่าง

อุปกรณ์การผ่าตัดแบบส่องกล้องรุ่นใหม่มาพร้อมกับระบบควบคุมความสว่างสั่งการด้วยเสียง ทำให้การผ่าตัดถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ทีมแพทย์สามารถตั้งค่าความสว่างของแสงไฟและปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับทุกขั้นตอนของการผ่าตัดได้ล่วงหน้า เพื่อเพิ่มคุณภาพและลดเวลาในการผ่าตัด

หลอดไฟ LED สีน้ำเงิน

หลอดไฟ LED สีน้ำเงินที่ถูกติดตั้งอยู่ภายในห้องผ่าตัดมีคุณสมบัติช่วยให้ทีมศัลยแพทย์มองเห็นภาพจากจอแสดงผลได้ชัดเจนยิ่งขึ้นขณะผ่าตัด ซึ่งส่งเสริมให้ใช้เวลาการผ่าตัดสั้นลง มีผลให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น

หน้าจอแสดงผล 3 มิติ ความคมชัดระดับ HD

หน้าจอแสดงผลแบบ 3 มิตินี้เป็นประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับทีมศัลยแพทย์ เนื่องจากภาพที่ปรากฏมีความตื้นลึก จึงช่วยให้แพทย์กะระยะภายในร่างกายของเราได้ง่ายขึ้น ประกอบกับระบบลดเงาสะท้อนและการแสดงสีได้สดเสมือนจริงมากกว่าเดิม ยิ่งทำให้ศัลยแพทย์และทีมงานเห็นภาพระหว่างการผ่าตัดได้ชัดเจนและละเอียดมากขึ้น

โรงพยาบาลสีเขียว

Critical Care Complex เป็นอีกหนึ่งโครงการที่สมิติเวชได้มีโอกาสดำเนินการตามนโยบายที่ต้องการเป็นโรงพยาบาลสีเขียว การใช้พลังงานสะอาดจึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายแรกๆ ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบศูนย์การแพทย์แห่งใหม่นี้ และด้วยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เราจึงออกแบบให้ส่วนหนึ่งของศูนย์การแพทย์นี้ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ได้เป็นผลสำเร็จ แผงโซล่าเซลล์ของเรานอกจากจะสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 150 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงแล้ว

เมื่อผนวกกับโพลียูรีเทนโฟม (Polyurethane Foam) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนอยู่ภายในกำแพง เพดาน และหลังคา ยิ่งช่วยทำให้อุณหภูมิภายในห้องผ่าตัดเย็นลง ลดเสียงรบกวนกรณีมีฝนตก และเพิ่มคุณภาพของสภาพแวดล้อมในห้องที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิอย่างเคร่งครัด (เช่น ห้องเก็บไข่และอสุจิ) ส่งผลให้ประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 20% เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโรงพยาบาลสีเขียวของเราจะสามารถผลิตพลังงานได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ได้อีก 25 ปีหรือมากกว่านั้น