ความร่วมมือกับ Doernbecher’s Children Hospital

เป้าหมายของความร่วมมือ

โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชได้ทำความร่วมมือกับโรงพยาบาลเด็กชั้นนำของสหรัฐอเมริกา Doernbecher Children’s Hospital, Oregon Health and Science University (OHSU) โรงพยาบาลเด็กที่ได้รับการจัดอันดับจาก US News & World Report ให้เป็น Best Children’s Hospitals 2015-2016 ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพความเชี่ยวชาญทางด้านกุมารแพทย์ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพของแพทย์ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์ให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ก้าวสู่มาตรฐานสากลอย่างเต็มรูปแบบ

ความสำเร็จจากปี 2015

ความร่วมมือระหว่างสองโรงพยาบาลทำให้เกิดการพัฒนาความรู้ทางด้านกุมารแพทย์ รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์อย่างเป็นรูปธรรม แสดงออกถึงความโดดเด่นแห่งการเป็นโรงพยาบาลเด็กเอกชนที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างมาก รวมไปถึงการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาดูแลรักษาเด็กๆ จากความร่วมมือนี้โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนวิธีการรักษาให้เป็นแบบองค์รวมเพิ่มยิ่งขึ้นโดยมีคนไข้เป็นศูนย์กลาง มีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลทารกภาวะวิกฤติ และผู้ป่วยเด็กวิกฤติ

โรงพยายาลเด็กสมิติเวช ได้นำนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัยมาเพื่อให้การรักษา วินิจฉัยผู้ป่วยเด็กในภาวะวิกฤติ ทำให้แพทย์สามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงทีและรักษาได้ตรงจุดเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ทุกคนได้รับการอบรมฝึกฝนทางด้าน Stabilization Practices สำหรับทารกแรกเกิด หรือ S.T.A.B.L.E.  โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจาก OHSU มาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เพิ่มเติมให้แก่พยาบาลประจำหอพักผู้ป่วยทารกวิกฤต Neonatal Intensive Care Unit ,  หอพักผู้ป่วยเด็กวิกฤต Pediatric Intensive Care Unit  โดยเฉพาะทางด้านการดูแลทารกแรกเกิดหลังการกู้ชีพและก่อนการเคลื่อนย้าย โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชได้ส่งกุมารแพทย์และพยาบาลไปศึกษาและดูงานที่มหาวิทยาลัยแพทย์ทยูท่าห์สหรัฐอเมริกาจนได้รับการรับรอง สามารถกลับมาแบ่งปันถ่ายทอดประสบการณ์แก่ทีมแพทย์และพยาบาลคนอื่นๆ ต่อไป  
  • โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช นำการรักษาด้วยการใช้เครื่องลดอุณหภูมิของร่างกาย (Neonatal Therapeutic Hypothermia) ซึ่งเป็นวิธีรักษาอันก้าวหน้าสำหรับทารกที่เกิดภาวะขาดออกซิเจนในระยะปริกำเนิด (Perinatal asphyxia) และขาดออกซิเจนแรกเกิด (Birth asphyxia) โดยรักษาในทารกที่คลอดภายหลังมารดาอายุครรภ์ตั้งแต่ 35 สัปดาห์ขึ้นไป การรักษานี้เป็นการลดอุณหภูมิกายของทารกลงในระดับหนึ่ง เพื่อลดกระบวนการทำลายสมองที่เกิดขึ้นภายหลัง พร้อมทั้งสามารถลดอัตราการเสียชีวิต และการเกิดภาวะทุพพลภาพได้ โดยไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง  เพื่อดูแลทั้งแม่และเด็กให้ปลอดภัยและแข็งแรงที่สุด
  • นอกเหนือจากการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กทางกายภาพ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ยังได้ก่อตั้ง Child Life Program ซึ่งเป็นกิจกรรมดูแลสภาพจิตใจของเด็กขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีนักกิจกรรมบำบัด รวมถึงแพทย์ พยาบาล และบุคลากรในโรงพยาบาลที่ตั้งใจและมีจิตอาสามาร่วมกิจกรรมฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยเด็กดังที่กล่าวมา  

เป้าหมายในปี 2016

ในปีนี้โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชและ Doernbecher Children’s Hospital จะมุ่งเน้นไปยังการพัฒนาศูนย์ผ่าตัดเด็กและทารกแรกเกิด โดยเฉพาะทางด้านการผ่าตัดแผลเล็ก หรือ Minimally Invasive Surgery (MIS) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใช้กล้องเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กในการผ่าตัดซึ่งทำให้แผลเล็ก ช่วยลดความเจ็บปวดระหว่างการผ่าตัด ทำให้คนไข้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

เราไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาความรู้ของบุคลากร ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในการรักษา ความร่วมมือระหว่างสมิติเวชกับ OHSU สะท้อนให้เห็นถึงความทุ่มเทของสมิติเวชที่พร้อมจะพัฒนาการรักษาอย่างต่อเนื่องให้ดีที่สุดเพื่อคนไข้ของเรา

คะแนนบทความ