ตรวจสุขภาพที่ใช่ ตามไลฟ์สไตล์ของคุณ

ตรวจสุขภาพที่ใช่ ตามไลฟ์สไตล์ของคุณ

HIGHLIGHTS:

  • การตรวจสุขภาพตามไลฟ์สไตล์ เสมือนไกด์นำทางไปสู่การตรวจสุขภาพที่เหมาะสมและตรงกับเรามากที่สุด
  • โรคออฟฟิศซินโดรม ไม่เพียงแค่พบในกลุ่มวัยทำงานเท่านั้น แต่ยังพบได้ในกลุ่มที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ที่ยังทำงานหรือวัยเกษียณที่ยังทำงานเสริม
  • โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน อาการสำคัญคือ ปวดเมื่อยตามร่างกาย นิ้วล็อก ปลอกหุ้มเส้นเอ็นอักเสบ ชามือ ชาลงขา การมองเห็นแย่ลง และมีภาวะเครียดแอบแฝง

เมื่อก่อนเรามักจะพูดกันว่า การตรวจสุขภาพประจำปี ช่วยให้เรารู้ทันก่อนที่จะเกิดโรค แต่ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของแต่ละคนต่างกันออกไป ทำให้ตัวกระตุ้นบางอย่างหรือปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลต่อสุขภาพของคนๆนั้น ต่างออกไปด้วย หากเรารู้ว่า เราใช้ชีวิตแบบไหน ทำงานแบบไหน จะทำให้เราเข้าใจตัวเองและมองหาการตรวจสุขภาพที่ใช่สำหรับเราได้จริง

การตรวจสุขภาพตาม Lifestyle

 

การตรวจสุขภาพที่แนะนำ รายละเอียด สาย Office สายพ่อบ้านแม่บ้าน/สายลูกอ่อน สายนักบริหาร สายสลับ (ทำงานไม่เป็นเวลา) สายกีฬา /สายชอบออกกำลังกาย/สายเที่ยวแบบลุย สายมัง/สายเจ/สายบุญ สายเซเลป/สายสังคม
การตรวจสุขภาพประจำปี (ตามช่วงวัย) โปรแกรมหลากหลายที่ออกแบบมาตามอายุ เพศ และความเสี่ยงของโรคที่สำคัญที่พบในช่วงอายุนั้น ๆ
การตรวจสุขภาพกระเพาะอาหาร (สำหรับผู้ที่ทานข้าวไม่ตรงเวลา มีอาการจุกเสียด อาหารไม่ย่อย แสบอกเป็นประจำ) การพบแพทย์เฉพาะทางในระบบทางเดินอาหาร เพื่อคัดกรองสาเหตุของความผิดปกติของกระเพาะอาหาร
การตรวจสุขภาพลำไส้ใหญ่ (สำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องผูกเรื้อรัง,ท้องเสีย,มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือคนที่อายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป การพบแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินอาหารและลำไส้ เพื่อหาความผิดปกติและคัดกรองมะเร็งลำไส้ตามช่วงอายุที่ควรตรวจ
การตรวจสุขภาพกระดูกสันหลัง คอ ข้อต่อ และกล้ามเนื้อ การพบแพทย์เฉพาะทางศูนย์กระดูก ข้อ กระดูกสันหลังและการแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา เพื่อคัดกรองและวินิจฉัยอาการบาดเจ็บที่กระดูก หรือความผิดปกติของกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ        
การตรวจฮอร์โมนความเครียด (คอร์ติซอล)และฮอร์โมนแห่งการนอนหลับ (เมลาโทนิน) การพบแพทย์ผู้ชำนาญการด้านฮอร์โมนแบบองค์รวม เพื่อปรับสมดุลของฮอร์โมนแห่งความเครียดและการนอนหลับให้กลับมาปกติ พร้อมปรับไลฟ์สไตล์ที่ถูกต้องในแต่ละบุคคล        
การตรวจระดับวิตามิน แร่ธาตุในร่างกาย การพบแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อปรับสมดุลร่างกาย พร้อมปรับไลฟ์สไตล์ที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละบุคคล    
การตรวจสมรรถภาพในการเล่นกีฬาและความอึดของร่างกาย การทดสอบ VO2 Max ( วี-โอ-ทู-แมก) ซึ่งเป็นการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย เพื่อดูประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ออกซิเจนและใช้ดูความทนทานของร่างกายแบบเฉพาะบุคคล            
การตรวจร่างกายสำหรับนักวิ่ง นักปั่น นักกอล์ฟ นักเตะ นักไตรกีฬา การตรวจสุขภาพที่รวมการพบแพทย์ด้านสุขภาพและแพทย์เฉพาะทางศูนย์กระดูก ข้อ กระดูกสันหลังและการแพทย์เวชศาสตร์การกีฬา เพื่อช่วยให้ผู้ที่เล่นกีฬาประเภทวิ่ง ปั่นจักรยาน ฟุตบอลและไตรกีฬา มีประสิทธิภาพในการเล่นสูงสุด            
การตรวจสุขภาพเพื่อการชะลอวัยและสมดุลของร่างกาย การพบแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพแบบองค์รวม เพื่อปรับสมดุลร่างกาย พร้อมปรับไลฟ์สไตล์ที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละบุคคล            
การตรวจสุขภาพตับ ในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์บ่อย ด้วยเครื่อง Fibroscan การตรวจวินิจฉัยเพื่อดูสภาพการเกิดพังผืดในเนื้อตับของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง หรือใช้ประเมินปริมาณไขมันสะสมในตับสำหรับผู้ป่วยที่มีโรคไขมันเกาะตับ (Fatty liver) ซึ่งพบในผู้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ            
การตรวจยีนหาความเสี่ยงมะเร็งที่มาจากพันธุกรรม กรณีมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง การพบแพทย์ด้านพันธุกรรมและโรคซับซ้อนในครอบครัว เพื่อก้าวนำรหัสชีวิต รู้ความเสี่ยงโรคในอนาคต โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่อาจแฝงมากับพันธุกรรม

 

นอกจากการตรวจสุขภาพตาม Lifestyle แล้ว มีอีกโรคที่น่าสนใจและพบได้บ่อย อาจเนื่องมาจากกิจกรรมพิเศษที่ชอบทำ หรือติดการเล่นโซเชียลจากอุปกรณ์สื่อสาร นั่นคือ โรคออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะพบอาการสำคัญคือ ปวดเมื่อยตามร่างกาย นิ้วล็อก ปลอกหุ้มเส้นเอ็นอักเสบ ชามือ ชาลงขา การมองเห็นแย่ลง และมีภาวะเครียดแอบแฝง

Click อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรม

อาการของออฟฟิศซินโดรม

  • กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) พบบ่อยที่สุด ส่วนมากพบในคนวัยทำงาน โดยเกิดจากการที่กล้ามเนื้อทำงานมากเกินไปจนได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน (overuse injury) จนยากแก่การซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้อย่างสมบูรณ์ โดยอาการปวดมักจะเรื้อรัง ร่วมกับคลำพบลำกล้ามเนื้อแข็งเป็นแนว (taut band) และอาจมีจุดกดเจ็บในลำกล้ามเนื้อนั้นๆ (trigger point) ที่ทำให้ปวดร้าวไปยังบริเวณอื่นตามแนวกล้ามเนื้อได้
  • ปวดศีรษะ อาจปวดร้าวไปถึงตา และมีอาการปวดไมเกรนบ่อยๆ
  • มีความเครียดสะสม เพราะวิตกกังวล และพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีอาการเจ็บ ตึง และชาตามอวัยวะต่างๆ เกิดขึ้นได้หากนั่งนานเกินไปจนทำให้มีการกดทับเส้นประสาทหรือการไหลเวียนเลือดผิดปกติ
  • นิ้วล็อก เพราะเกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นนิ้วมือ ทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้นและส่งผลให้ไม่สามารถเหยียดนิ้วมือได้ตามปกติ

อาการของออฟฟิศซินโดรมหากไม่รีบรักษา อาจเสี่ยงเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด และแขนขาอ่อนแรง เสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า อันมาจากความเครียดสะสม ของร่างกายและจิตใจ

การป้องกันออฟฟิศซินโดรมด้วยตนเอง

  • อย่านั่งห่อไหล่หรือยกไหล่ขึ้นสูงเกินไป หมั่นยืดคลายกล้ามเนื้อเป็นประจำ ไม่ควรนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป
  • หมั่นออกกำลังกายเพื่อยืดและคลายกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแนวกลางลำตัว เช่น โยคะ หรือพิลาทิส เพราะจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ป้องกันเอ็นและข้อยึด
  • ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น เปลี่ยนโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะกับสรีระ ปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้เท้าสามารถวางจรดกับพื้นขณะนั่ง และเข่าอยู่ระดับเดียวกับสะโพกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย
  • ตรวจร่างกายด้วยการวิเคราะห์จุดปวดเรื้อรังที่กล้ามเนื้อและข้อ (Red Cord Analysis)
  • การบริหารกายง่ายๆ สำหรับออฟฟิสซินโดรม

การรักษาออฟฟิศซินโดรม

  • การกำจัดจุดกดเจ็บด้วยการฝังเข็ม ใช้การฉีดยา เฉพาะจุด
  • การทำกายภาพบำบัดด้วยอุปกรณ์ต่างๆ หรือการนวดเฉพาะจุด
  • การออกกำลังเสริมความแข็งแรงและความทนทานของกลุ่มกล้ามเนื้อที่มีปัญหา

ใครมี Lifestyle แบบไหน ก็สามารถตรวจสุขภาพที่ตรงกับตัวเราเพื่อให้มีสุขภาพดีและรู้ทันก่อนเกิดโรคนะคะ

 

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?