เราอาจเคยได้ยินการตรวจคัดกรองความเสี่ยงของทารกในครรภ์ ด้วยวิธีการตรวจที่เรียกว่า First Trimester Combined Test (Combine Test) คือ การทำอัลตราซาวด์ ร่วมกับการตรวจวัดระดับสารชีวเคมีบางตัวในเลือดมารดา แต่การตรวจด้วยวิธีนี้มีอัตราการตรวจพบ (Accuracy) ประมาณ 85% และผลบวกลวง (false positive) ประมาณ 5 % ในปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการตรวจที่ชื่อว่า NIPT ซึ่งมีอัตราการตรวจพบ (Accuracy) > 99% และผลบวกลวง (false positive) < 0.02% ซึ่งมีผลบวกลวงน้อยกว่าการตรวจ Combine Test ทั้ง 2 วิธี หากได้ผลการตรวจเป็นบวก (คือ พบความผิดปกติ) จะต้องตรวจยืนยันด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ หรือการตรวจชิ้นเนื้อรก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรที่ประมาณ 0.5-1% ดังนั้นการตรวจแบบ NIPT จึงมีความนิยมและช่วยลดอัตราการเจาะน้ำคร่ำที่ไม่จำเป็นในการตรวจยืนยันผล จึงทำให้ทารกในครรภ์ปลอดภัยมากกว่าวิธีอื่นๆ
NIPT ย่อมาจาก Non-Invasive Prenatal Testing เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดมารดา โดยวิเคราะห์จากสารพันธุกรรมดีเอ็นเอของทารก (Fetal cell-free DNA) ที่อยู่ในกระแสเลือดของมารดา ซึ่งเป็นวิธีการตรวจคัดกรองที่มีความไวสูง 99% และมีโอกาสเกิดผลบวกลวงต่ำ โดย American College of Obstetrics and Gynecology (ACOG, 2015) และ American College of Medical Genetics and Genomics (ACMG, 2016) แนะนำให้ใช้ NIPT ในการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 (Down’s syndrome), คู่ที่ 18 (Edward syndrome) และคู่ที่ 13 (Patau syndrome)
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่