เวลาพูดว่า ปวดข้อศอก โดยทั่วไปแล้วคนส่วนมากหรือแม้กระทั้งแพทย์ที่ดูแลรักษา มักจะนึกถึงอาการปวดจาก Tennis elbow แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการปวดข้อศอกนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
หรือในบางครั้งอาการปวดข้อศอกอาจจะไม่ได้มีสาเหตุมาจากข้อศอกโดยตรง แต่เป็นการปวดร้าวมาจากบริเวณไหล่ ต้นคอ จนทำให้ปวดมาถึงข้อศอกก็เป็นได้ ดังนั้นการตรวจค้นหาที่เหมาะสมก็จะช่วยให้หาสาเหตุการปวดได้ครอบคลุม
การตรวจวินิจฉัยแยกโรคของอาการปวดที่เกิดจากข้อศอก สามารถแยกโดยใช้ตำแหน่งที่ปวดศอกเป็นตัวช่วย
อาการปวดข้อศอกพบได้กับทุกช่วงวัย การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องชัดเจนจะทำให้ได้รับการรักษาคาดที่หวังผลได้ดีขึ้น ส่วนการตรวจวินิจฉัยโดยต้องดูจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น ตำแหน่งบริเวณปวด อายุ อาการ สัมพันธ์กับกิจกรรมที่คนๆ นั้นทำเป็นประจำ
การรักษาอาการปวดข้อศอก แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มที่ต้องผ่าตัด และไม่ต้องผ่าตัด
โดยมากจะเริ่มจากการไม่ผ่าตัดก่อน โดยให้ทานยาบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ประคบ ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ เพื่อฝึกความยืดหยุ่นของข้อ หรือออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยการออกกำลังกายเฉพาะกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ
หรือการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาการปวดได้เร็ว แต่ควรจะใช้ในบางกรณีเท่านั้น เช่น ปวดมาก ปวดจนนอนไม่ได้ ปวดจนมีผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะการใช้ยาสเตียรอยด์ในระยะยาวไม่ได้ทำให้โรคหาย แต่อาจทำให้มีปัญหาตามมาได้ เช่น เนื้อเยื่อ หรือไขมัน เหี่ยวลง ผิวหนังเปลี่ยนสีบริเวณที่ฉีด ทำให้เอ็นเปื่อยหรือฉีกขาดได้ง่าย
ข้อสำคัญของการรักษาอาการปวดข้อศอกให้ได้ผลดี คือการรักษาแบบผสมผสาน หลายอย่างรวมกัน ไม่เน้นชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด
ในกลุ่มที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบอนุรักษ์นิยมเต็มที่แล้ว หรือปวดต่อเนื่องนานเกิน 3-6 เดือนขึ้นไป อาการปวดนั้นรบกวนต่อการทำกิจกรรม อาชีพ กิจวัตรประจำวัน อาการปวดส่งผลต่อมุมในการขยับข้อศอกแย่ลงเรื่อยๆ จะพิจารณาการรักษาโดยการผ่าตัด
ซึ่งการผ่าตัดในปัจจุบันเป็นแบบ MIS (Minimal Invasive Surgery) คือการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้เกิดการรบกวนกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ข้อศอกลดลง อีกทั้งยังสามารถวินิจฉัยเพิ่มเติมได้อีกด้วย เช่น หากวินิจฉัยแล้วว่าเป็น Tennis elbow แต่เมื่อผ่าไปแล้วอาจพบภาวะอื่นซ้อนอยู่เช่น ผิวข้อแตก ก็สามารถทำการรักษาได้ในคราวเดียวกันเลย MIS ถือเป็นการรักษาที่ตรงจุดมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถวินิจฉัยโรคอื่นๆ ได้มากขึ้นอีกด้วย
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่