- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์จำพวกผักผลไม้ให้มากขึ้น และเน้นอาหารจำพวกเนื้อปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เนื่องจากโอเมก้า 3 ในปลาช่วยลดการอักเสบซ่อนเร้น และมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพ
- ลดการบริโภคอาหารไขมันสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์
- ลดการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มหรือมีโซเดียมสูง
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งต้องดูแลทั้งด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมทั้งการใช้ยารักษาอย่างเหมาะสม
- ลดหรือจำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ให้เกิน 1-2 ดื่มมาตรฐาน/วัน และเลิกสูบบุหรี่ อย่างเด็ดขาด
- ดูแลสุขภาพอนามัย และฟื้นฟูร่างกาย โดยการทำกายภาพบำบัด ทั้งนี้หากการไปโรงพยาบาลเป็นเรื่องยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง อาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยเทคโนโลยีสื่อสาร หรือ Stroke TeleCare
การรักษาโรคหลอดหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดโรค ซึ่งการป้องกันไม่ให้เกิดโรคคือการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ในกรณีผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง การดูแลไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ รวมถึงฟื้นฟูภาวะอัมพฤกษ์อัมพาต ถือเป็นสิ่งสำคัญ
การดูแลผู้ป่วยเรื้อรังที่ดูแลตัวเองไม่ได้นั้น ต้องอาศัยการร่วมมือกันระหว่างสถานพยาบาลและครอบครัว การดูแลที่ดีจะลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและการเสียชีวิต แต่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วยและครอบครัว การดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลมีความพร้อมและประสิทธิภาพดีกว่าการดูแลที่บ้าน แต่การดูแลผู้ป่วยที่บ้านสะดวกและประหยัดมากกว่า
การให้ความรู้และการสนับสนุนผู้ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีขึ้น การใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารจะช่วยลดความแตกต่างระหว่างการดูแลที่บ้านและการรักษาภายในโรงพยาบาลได้