การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง

การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง

HIGHLIGHTS:

  • โรคนิ่วในถุงน้ำดี อาจมีอาการคล้ายโรคกระเพาะอาหารคือ ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย การซื้อยามารับประทานเองอาจทำให้อาการของโรครุนแรงได้
  • การรับประทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำ มีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้
  • การรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดีด้วยการทานยามักไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากยาไม่สามารถละลายก้อนนิ่วได้ เมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วใหม่ การรักษาที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดีคือการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก

โรคนิ่วในถุงน้ำดี เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างสารละลายหลักในถุงน้ำดี ได้แก่ คอเลสเตอรอล ไขมันฟอสเฟต และกรดน้ำดี  จนเกิดเป็นตะกอนและนิ่วในที่สุด โดยก้อน นิ่วในถุงน้ำดี อาจมีขนาดเล็กหรือใหญ่ รวมถึงจำนวนที่แตกต่างกัน หากปล่อยทิ้งไว้จนตะกอนนิ่วมีขนาดใหญ่

อาการของ นิ่วในถุงน้ำดี

โรคนิ่วในถุงน้ำดี  พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย  ตั้งแต่อายุ 30 – 50 ปี ด้วยอาการของโรคคล้ายโรคกระเพาะอาหาร  จึงถูกมองว่าไม่อันตราย เพียงแค่ซื้อยามารับประทานเอง แต่ในความจริงแล้วโรคนิ่วในถุงน้ำดีมีอันตรายมาก หากพบอาการดังนี้ ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยภายใน 1-2 สัปดาห์

  • ท้องอืด แน่นท้อง
  • อาหารไม่ย่อย ส่วนใหญ่เกิดหลังรับประทานอาหารไขมันสูง
  • ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ด้านขวา  ร้าวไปจนถึงไหล่และหลังด้านขวา

หากไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน  เช่น ถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วหล่นลงมาอุดตันท่อน้ำดี ตับอ่อนอักเสบ หรือถ้ามีอาการ มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน  ภาวะดีซ่าน หรือปัสสาวะสีเข้ม  ปวดท้องรุนแรงจนไม่สามารถนั่งหรือยืนได้ ควรรีบไปโรงพยาบาลภายใน 24 ชั่วโมง

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี

  • คนที่เป็นโรคอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน
  • ผู้ที่รับประทานอาหารไขมันสูงเป็นประจำ
  • มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิง โดยเฉพาะเมื่อรับประทานฮอร์โมนเอสโตรเจน
  • ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาลดไขมันบางชนิด
  • การลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว
  • โรคเลือดบางชนิดที่มีการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงเร็วกว่าปกติ เช่น โรคธาลัสซีเมีย

การวินิจฉัยก่อน ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี

แพทย์ซักประวัติเบื้องต้น ร่วมกับการตรวจร่างกายและเจาะเลือด  หากพบว่าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงเป็น นิ่วในถุงน้ำดี อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยอัลตราซาวนด์บริเวณช่องท้องส่วนบน  โดยจำเป็นต้องงดอาหารล่วงหน้า 6 ชั่วโมง ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลรวดเร็วและแม่นยำมากกว่า 80%

การรักษา นิ่วในถุงน้ำดี

จากสถิติการรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดีของแพทย์โดยส่วนใหญ่พบว่า  การรับประทานยารักษามักไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากยาไม่สามารถละลายก้อนนิ่วได้หมด  รวมถึงเมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วใหม่ได้ ส่วนเครื่องสลายนิ่วจะใช้ได้ดีเฉพาะนิ่วในท่อไต แต่ไม่ได้ผลสำหรับนิ่วในถุงน้ำดี

ปัจจุบันแพทย์จึงแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีออก  ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะการ ผ่าตัดถุงน้ำดี แบบผ่านกล้อง (laparoscopic cholecystectomy) ซึ่งจัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery หรือ MIS  เป็นวิธีผ่าตัดที่เจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง

อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อน  เช่น ถุงน้ำดีบวมมาก หรือมีพังพืดล้อมรอบมาก ทำให้แพทย์ไม่สามารถแยกได้ชัดเจนจากอวัยวะข้างเคียง อาจยังคงต้องใช้วิธี ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี ด้วยวิธีเปิดแผลหน้าท้องแบบธรรมดา

การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง (laparoscopic cholecystectomy)

ปัจจุบันการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้องได้ผลดีและเกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก เนื่องจากมีแผลขนาดเล็กเพียง 0.5 ซม. ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว สามารถกลับบ้านภายใน 1 – 2 วัน

วิธีการผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง  แพทย์จะการเจาะแผลเล็ก ๆ บริเวณสะดือและชายโครงขวา เพื่อสอดกล้องขนาดเล็กและเครื่องมือเข้าไปตรวจดู นิ่วในถุงน้ำดี จากนั้นจึงทำการตัดเลาะถุงน้ำดีออก  เมื่อเสร็จแล้วก็ดึงเครื่องและกล้องออกทำการเย็บปิดแผล เป็นอันจบขั้นตอนการรักษา

แม้การผ่าตัดแบบผ่านกล้องจะมีโอกาสสำเร็จมากถึง 95 % ก็ตาม แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันนานกว่า 3 วัน รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคอื่นๆ ร่วมหลายโรค  อาจมีโอกาสที่จะผ่าตัดผ่านกล้องไม่สำเร็จ โดยแพทย์จำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป

ดังนั้น เมื่อเกิดอาการน่าสงสัยว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี จึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หรือปล่อยไว้เป็นเวลานานจนอาจไม่สามารถรักษาด้วยวิธีผ่าตัดแบบผ่านกล้องได้

ห้องผ่าตัดส่องกล้อง ที่ศูนย์ Critical Care Complex

ห้องผ่าตัดที่ศูนย์ Critical Care Complex แตกต่างจากห้องผ่าตัดทั่วไป เพราะเราใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผ่าตัด เช่น ระบบควบคุมความสว่างสั่งการด้วยเสียง โดยทีมแพทย์สามารถตั้งค่าความสว่างของแสงไฟ และปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับทุกขั้นตอนของการผ่าตัดได้ล่วงหน้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาในการผ่าตัด

คลิกชมวิดีโอห้องผ่าตัด ที่ศูนย์ Critical Care Complex

 

รู้จักกับคุณหมอภัคพงศ์ วัฒนโอฬาร

นายแพทย์ภัคพงศ์ วัฒนโอฬาร มีความชำนาญด้านการผ่าตัดส่องกล้อง โดยใน 10 ปีที่ผ่านมา คุณหมอผ่าตัดส่องกล้อง Laparoscopic surgery (MIS) มามากกว่า 1,500 ราย ในจำนวนนี้เป็นการผ่าตัดไส้เลื่อน มากกว่า 500 ราย คุณหมอภัคพงศ์ วัฒนโอฬาร จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 2 คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และยังได้รับประกาศนียบัตรแพทย์เฉพาะทางอนุสาขาผ่าตัดส่องกล้องศัลยศาสตร์ทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล


การพักฟื้น และการดูแลหลังผ่าตัด

  • ผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี พักฟื้นกี่วัน : หลังการผ่าตัดส่องกล้องแบบ MIS ระยะเวลาการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดจะเร็วกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยถ้าผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี การผ่าตัดส่องกล้องก็จะสามารถฟื้นตัวได้เพียง 2 สัปดาห์
  • ห้องพักผู้ป่วยที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน : หลังการผ่าตัดส่องกล้อง MIS ส่วนใหญ่จะอยู่พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล 1-2วัน โดยที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท มีห้องพักผู้ป่วยที่มี สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ต่างๆ ที่คนไข้หรือผู้รับบริการสามารถใช้เทคโนโลยี ควบคุมทุกอย่างได้ เช่น ระบบไฟ ระบบผ้าม่าน ระบบแอร์ โดยไม่ต้องลุกจากเตียง ที่ห้อง Intelligent Ward คลิกเพื่อชมห้องพักผู้ป่วย
  • บริการ Samitivej PACE ติดตามคนไข้ทุกสถานะการผ่าตัด : เพราะ #เราไม่อยากให้ใครห่วง โรงพยาบาลสมิติเวชจึงมีบริการ Samitivej PACE ระบบติดตามทุกสถานการณ์ผ่าตัด ช่วยให้เราสามารถรู้สถานะคนไข้ว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนใด เช่น กำลังอยู่ในห้องผ่าตัดหรือห้องพักฟื้น โดยไม่ว่าญาติผู้ป่วยจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าไปดูสถานะการผ่าตัดได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงแอดไลน์ @Samitivej
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?