ภาวะการแท้งซ้ำอีกหนึ่งความหนักใจของคนที่ต้องการมีบุตร

ภาวะการแท้งซ้ำอีกหนึ่งความหนักใจของคนที่ต้องการมีบุตร

วิถีชีวิตของคู่สมรสในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนไปจากเดิมคู่สมรสจะมีการวางแผนครอบครัวกันมากขึ้น แต่งงานกันช้าลงและมีลูกกันช้าลง ซึ่งมองเผิน ๆ ก็ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไร แต่แท้ที่จริงแล้วสำหรับผู้หญิงการมีบุตรตอนที่อายุเริ่มมากแล้ว ส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะเสี่ยงต่อปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หลาย ๆ อย่าง ปัญหาหนึ่งที่สร้างความหนักใจและความทุกข์ใจให้กับคุณแม่ที่ ต้องการมีบุตรอย่างมากเลยก็คือ “การแท้งซ้ำ” ภาวะนี้เป็นปัญหาที่น่าหนักใจอยู่ไม่น้อยจริง ๆ ส่วนใหญ่จะตรวจหาสาเหตุไม่พบ และเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ส่งผลกระทบต่อภาวะจิตใจของคู่สมรสค่อน ข้างมาก จึงเรียกว่าเป็นหนึ่งภาวะปัญหาที่น่าหนักใจของคู่สมรสอย่างยิ่ง ครั้งนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวในเรื่องภาวะการแท้งซ้ำต่อทุกท่านกัน

รู้จักและเข้าใจการแท้งซ้ำ

ภาวะแท้งซ้ำ ในทางการแพทย์เราปัจจุบันจะนิยามไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่คุณผู้หญิงตั้งครรภ์แล้วเกิดการแท้งบุตรติดต่อกันตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปโดยไม่มีสาเหตุทำให้แท้งเราถือว่าอยู่ในกลุ่มของคุณแม่ที่มี “ภาวะแท้งซ้ำ” เพื่อที่จะได้ค้นหาสาเหตุหรือให้ความสำคัญเร็วขึ้นในสมัยก่อนนั้นเราจะเริ่มจัดว่าคุณแม่มีภาวะแท้งซ้ำก็ต่อเมื่อมีการแท้งติดต่อกัน 3 ครั้งขึ้นไปแต่ในปัจจุบันเรามองว่าช้าเกินไป เกิดการแท้ง 2 ครั้งโดยไม่มีเหตุทำให้เกิดการแท้งเราคิดว่าต้องเริ่มที่พิจารณาค้นหาสาเหตุที่แท้จริงกันได้แล้ว

ปัจจัยที่นำไปสู่ภาวะแท้งซ้ำคืออะไร

การแท้งบุตรนั้นจริงๆ มีปัจจัยและสาเหตุมากมายที่ทำให้แท้งได้ แต่ในกรณีกลุ่มคนไข้ที่มีบุตรยากและมีการเข้ารับการรักษาด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ มีการคัดเลือกตัวอ่อนคุณภาพดีเอาตัวอ่อนวันที่ 5 มาเช็คโครโมโซมแล้วผ่านขั้นตอนและกระบวนทุกอย่างแล้วและนำตัวอ่อนไปใส่คืนที่ มดลูกได้แล้วแต่คนไข้ก็ยังแท้งถึง 2 ครั้ง กรณีแบบนี้ เราสันนิษฐานว่าคนไข้น่าจะเริ่มมีปัญหาในเรื่องของการฝังตัวของตัวอ่อน นำไปสู่การแท้งซ้ำติดต่อกัน ซึ่งสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหานี้อาจเกิดขึ้นได้จาก 2 ประการคือ

1. ระบบภูมิคุ้มกันมีความผิดปกติ ซึ่งเม็ดเลือดขาวในร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ จะแบ่งเป็น ซึ่งเม็ดเลือดขาวในร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่เปิดรับซึ่งเมื่อมีตัวอ่อนเข้ามาในร่างกายของคุณแม่ กลุ่มเม็ดเลือดขาวกลุ่มนี้จะยอมรับตัวอ่อนสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการฝังตัวของตัวอ่อนและสามารถที่จะเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไปจนคลอดเรียบร้อยดีแต่การที่มีเม็ดเลือดขาวประเภทนี้อย่างเดียวก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะดีเพราะอาจส่งผลในด้านลบต่อสุขภาพของคุณแม่ได้เพราะการเปิดรับนั่นหมายถึงการเปิดรับสิ่งแปลกปลอมทุกชนิดเข้าไปในร่างกายก็เสมือนว่าร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกันเลยจึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณแม่กลุ่มเม็ดเลือดขาวกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มต่อต้านคือคอยป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกลไกธรรมชาติเพื่อสร้างสมดุลของร่างกายนั่นเองเมื่อมีตัวอ่อนเข้าไปในร่างกายของคุณแม่กลุ่มเม็ดเลือดขาวกลุ่มนี้ก็จะทำหน้าที่ยับยั้งให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ระดับที่พอเหมาะไม่ให้มากเกินไปหากกลุ่มเม็ดเลือดขาวทั้งสองกลุ่มนี้ทำงานประสานกันอย่างสมดุลก็จะไม่เกิดปัญหาใด ๆ แต่ถ้าฝ่ายเปิดรับเปิดรับมากเกินไปปัญหาสุขภาพและโรคแทรกซ้อนของคุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะเกิดขึ้น และหากฝ่ายต่อต้านยับยั้งมากเกินพอดีก็จะทำให้เกิดปัญหาในการฝังตัวของตัวอ่อนและส่งผลทำให้คุณแม้แท้ง หากตัวหนึ่งตัวใดมากเกินเราก็จะถือว่าระบบภูมิคุ้มกันของคุณแม่ตั้งครรภ์มีความผิดปกติ

2. มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเลือด จากการศึกษาเราพบว่าระบบการแข็งตัวของเลือดมีความสัมพันธ์กับภาวะแท้งซ้ำหากเลือดของคุณแม่ข้นหนืดก็จะทำให้เกิดลิ่มเลือดบริเวณเส้นเลือดแดงทำให้เส้นเลือดมาเลี้ยงบริเวณรกไม่เพียงพอจึงนำไปสู่การไม่ฝังตัวของตัวอ่อนหรือแท้งซ้ำทั้ง 2 สาเหตุ เกิดโรคแทรกซ้อนทำให้ตัวอ่อนเสียชีวิตในช่วงหลังของการตั้งครรภ์,ทารกโตช้าในครรภ์, รกลอกตัวก่อนกำหนดหรือแม้กระทั่งครรภ์เป็นพิษได้ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่นำไปสู่ภาวะแท้งซ้ำเช่นกัน

การตรวจวินิจฉัยและการรักษาภาวะแท้งซ้ำทำได้อย่างไรบ้าง

จริงๆ แล้วการตรวจทำได้หลายอย่างแต่หลักๆ แล้วก็จะมีอยู่ 2 อย่าง ซึ่งเมื่อเราพบปัญหาแล้วเราก็จะรักษาไปพร้อมๆ กัน ก็คือ

1. ตรวจหาความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณแม่ เพื่อดูความสมดุลของระบบภูมิกันในร่างกายหากกลุ่มเม็ดเลือดขาวที่เป็นกลุ่มต่อต้านทำงานมากเกินไปเราก็จะรักษาโดยการให้ยากดภูมิควบคู่ไปกับการให้รับประทานอาหารเสริม

2. ตรวจระบบการแข็งตัวของเลือดการส่งตรวจระดับเกล็ดเลือดเพื่อวิเคราะห์ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์มีปัญหาในเรื่องการแข็งตัวของเลือดหรือไม่ถ้ามีปัญหาในการแข็งตัวของเลือดคือคุณแม่มีเลือดข้นเหนียวเป็นลิ่มเลือดเราก็จะใช้ยาละลายลิ่มเลือดเป็นยาฉีดเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีซึ่งก็จะช่วยทำให้เรื่องของการฝังตัวของตัวอ่อนทำได้ดีขึ้นการแท้งก็จะลดลงโดยเราจะฉีดให้คนไข้หลังจากไข่ตกแล้ว ปฏิสนธิไปจนกระทั่งคลอด ฉีดกันต่อเนื่องร่วม 10 เดือน

 

ใครบ้างที่เหมาะสมในการเข้ารับการตรวจภาวะแท้งซ้ำ

 การย้ายตัวอ่อนคุณภาพดีต้อง 2 ตัวขึ้นไปแต่ยังไม่ตั้งครรภ์

  1.     คุณแม่ที่แท้งบุตรตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป
  2.     ภาวะมีบุตรยากไม่ทราบสาเหตุเกิน 3 ปี
  3.     มีประวัติคลอดทารกที่ผิดปกติมาก่อน (ทารกเจริญเติบโตช้า)
  4.     เคยมีประวัติปัญหาภูมิคุ้มกัน
  5.     เคยมีบุตรมาแล้วและเกิดภาวะแท้งซ้ำตามมา

อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาวะการแท้งซ้ำจะเป็นปัญหาที่น่าหนักใจแต่หมอก็ขอบอกคุณแม่ตั้งครรภ์และคู่สมรสทุกคู่ว่าอย่าเพิ่งเสียใจท้อแท้ใจและวิตกกังวลในเรื่องการแท้งซ้ำจนมากเกินไปยังมีโอกาสที่คุณแม่ทั้งหลายจะมีบุตรที่สมบูรณ์แข็งแรงได้เสมอแม้ว่าคุณแม้จะมีภาวะแท้งซ้ำมาแล้วเพราะในปัจจุบันเราสามารถที่จะตรวจวินิจฉัยให้รู้ก่อนเพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแท้งซ้ำนี้ได้แล้วมีกรณีล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้มาพบหมอด้วยภาวะนี้คุณแม่ท่านนี้กำลังใจดีมาก แม้ว่าจะแท้งซ้ำมาแล้ว 7 ครั้งก็ยังไม่เคยท้อ ดังนั้น หมอจึงขอให้กำลังใจคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนในการต่อสู่ฟันฝ่ากับปัญหานี้ที่สำคัญก็คือถ้าไม่มั่นใจก็ให้มาตรวจ

ซึ่งวิธีการตรวจในปัจจุบันก็ไม่มีความยุ่งยากอะไรใช้เวลาไม่นาน ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงในการแท้งซ้ำนั่นเอง

 

 

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?