ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง ปัญหากวนใจจากการเล่นกีฬา

ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง ปัญหากวนใจจากการเล่นกีฬา

HIGHLIGHTS:

  • อาการ ข้อไหล่ติด เช่น ยกไหล่ไม่ขึ้น เคลื่อนไหวข้อลำบาก มีปัญหาในการใส่เสื้อ เอื้อมหยิบของที่สูง
  • การรักษาข้อไหล่ติด ต้องคุมอาการในโรคนั้นๆ ด้วยยาให้ดีจนปกติ หรือถ้ากระดูกหักก็ต้องผ่าตัดดามกระดูกให้เข้าที่ หากการรักษาดังกล่าวไม่ดีขึ้น จะใช้การผ่าตัดไหล่ติดโดยการส่องกล้อง ช่วยให้แผลเล็กเจ็บน้อย เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยหลังการผ่าตัด

ปัญหาโรคข้อไหล่ สามารถพบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ทั้งเกิดจากอุบัติเหตุและไม่สัมพันธ์กับอุบัติเหตุ หนึ่งในนั้นคือภาวะการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลำบากหรือ ข้อไหล่ติด ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ข้อไหล่ได้เต็มความสามารถและมีการใช้งานข้อไหล่ลดลง โดยอาจไม่สามารถยกไหล่หรือกางแขนออกได้สุด ทำให้นักกีฬาแสดงความสามารถทางกีฬา (Sports – Performance) ได้ไม่เต็มที่

สาเหตุ ข้อไหล่ติด

  • อาจเกี่ยวพันกับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องบางอย่าง เช่น โรคข้อรูห์มาตอย (Rheumatoid arthritis) โรคข้อเอสแอลอี หรือโรคข้อพุ่มพวง (SLE arthritis) และ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • การบาดเจ็บต่าง ๆ โดยเฉพาะเจ็บไหล่จากการเล่นกีฬา มักพบบ่อยในการใช้กล้ามเนื้อช่วงไหล่และแขน เช่น เทนนิส กอล์ฟ ฯลฯ

ข้อไหล่ติด อาการแสดง

ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยการ ยกไหล่ไม่ขึ้น เคลื่อนไหวข้อลำบาก เช่น มีปัญหาในการใส่เสื้อ เอื้อมหยิบของในที่สูงหรือด้านข้าง ด้านหลังไม่ได้ เล่นกีฬาลำบาก เช่น วอล์เลย์บอล บาสเกตบอล ว่ายน้ำ ยิมนาสติก และโยคะ ฯลฯ อาจร่วมกับการมีอาการปวดขณะทำกิจกรรมดังกล่าวร่วมด้วย หรือปวดตอนกลางคืนขณะพลิกตัว เป็นต้น

ระยะของโรคข้อไหล่ติด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

  1. ระยะปวด ปวดไหล่ทั้งกลางวัน กลางคืน เกิดได้เองโดยไม่มีสิ่งกระตุ้น หรือแม้ไม่ได้ขยับข้อไหล่ ไม่สามารถนอนทับไหล่ข้างดังกล่าวได้ ทำให้การนอนหลับไม่สมบูรณ์ต้องตื่นกลางดึก ในระยะนี้ผู้ป่วยมักจะหนีบแขนและใช้ไหล่ข้างดังกล่าวน้อยที่สุด เพื่อลดอาการปวดตึงในเยื่อหุ้มข้อไหล่ ระยะนี้จะใช้เวลา 2 – 9 เดือน
  2. ระยะติดแข็ง (ภาวะยกไหล่ไม่ขึ้น) อาการปวดเริ่มลดลง มักปวดเฉพาะเวลากลางคืน แต่ไหล่จะติดและเคลื่อนไหวลำบาก องศาในการเคลื่อนไหวไหล่ลดลงมากและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนติดแข็งในทุกท่า การทำกิจกรรมข้อไหล่ เช่นการเกาศรีษะ สระผม เกาหลัง ใส่เสื้อ จะทำไม่ได้ ระยะนี้จะใช้เวลา 3-12 เดือน
  3. ระยะบรรเทา ระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีอาการแต่ภาวะไหล่ติดแข็งจะทรงตัว โดยถ้าติดมากเท่าไรในระยะที่ 2 ระยะที่ 3 จะเท่าเดิมกับระยะเวลาประมาณ 12-24 เดือน

การรักษา

ขึ้นกับชนิดของข้อไหล่ติด เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน หรือไทรอยด์ ก็ต้องคุมอาการในโรคนั้น ๆ ด้วยยาให้ดีจนปกติ หรือถ้ากระดูกหักก็ต้องผ่าตัดดามกระดูกในเข้าที่เสียก่อนเป็นต้น การให้ยาต้านการอักเสบ การบริหารหรือกายภาพบำบัดหัวไหล่

หากการรักษาดังกล่าวไม่ดีขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (Arthoscopic Shoulder Surgery) มีบทบาทอย่างมากและแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ โดยมีข้อดีช่วยให้แผลเล็กเจ็บน้อย เสียเลือดน้อย เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยหลังการผ่าตัด ฟื้นตัวเร็วขึ้น โดยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติดังเดิม โดยวิธีดังกล่าวสามารถรักษาได้ทุกสาเหตุแห่งภาวะข้อไหล่ติด ลดความทุกข์ทรมานจากอาการข้อไหล่ติดและกลับมาใช้งานข้อไหล่ได้ดี ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติและดีขึ้น

ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง ปัญหากวนใจจากการเล่นกีฬา

FitLAB

FitLAB ดูแลรักษานักกีฬาอาชีพ และผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อรักษาผู้ที่มีปัญหาการบาดเจ็บเอ็นและข้อมากกว่า 1,000 ราย ให้กลับมาฟิตและโชว์ฟอร์มได้แกร่งกว่าเดิม เข้าไปฟิตที่ FitLAB คลิก

 

คะแนนบทความ