เราไม่ควรมองข้ามความผิดปกติของไฝ เพราะมันอาจเป็นเครื่องหมายเตือนของมะเร็งผิวหนัง ซึ่งยิ่งตรวจพบเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น
คุณเอ็กซ์ มีไฝเม็ดใหม่ขึ้นที่แขน ซึ่งคุณเอ็กซ์รู้สึกว่ามันดูน่าเกลียดจึงมาที่โรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตัดออก เมื่อแพทย์ส่องขยายไฝของคุณเอ็กซ์แล้ว พบว่ามีลักษณะผิดปกติ ซึ่งมีโอกาสเป็นมะเร็งได้ แต่เพราะไฝนั้นมีขนาดเพียง 2 มิลลิเมตร แพทย์จึงตัดออกได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยานำชิ้นเนื้อที่ตัดออกไปตรวจ พบว่าเป็นเนื้อร้าย ถ้าคุณเอ็กซ์เลื่อนการรักษาต่อไปอีกเพียง 6 เดือน คงต้องมีการตรวจอย่างละเอียดเพิ่มเติม เช่น ตรวจต่อมน้ำเหลือง และอาจรวมไปถึงการทำคีโมบำบัด หรือ ฉายแสง และคงจะต้องทำศัลยกรรมเพื่อปกปิดรอยผ่าตัดอีกด้วย
โดยทั่วไปแล้วไฝมีการเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิตตั้งแต่เราเกิดจนเสียชีวิต ซึ่งไฝจะมีสีเข้มขึ้นหรืออ่อนลง เม็ดใหญ่ขึ้นแล้วหายไป แต่ไฝบางชนิดจะอยู่กับเราไปจนตลอดชีวิต ในขณะที่มีไฝบางชนิดถูกกำจัดได้โดยภูมิคุ้มกันในตัวเรา และมีบางชนิดที่กลายพันธุ์เป็นมะเร็งได้ ซึ่งยังไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าไฝกลายพันธุ์ได้อย่างไร เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดขึ้นได้ เช่น ความบกพร่องทางกรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมน การออกแดดนานๆ ภาวะความไม่สมดุลของอนุมูลอิสระ ระบบการเผาผลาญอาหาร ตลอดจนมลภาวะต่างๆ
ดังนั้นเราควรใส่ใจเรื่องไฝบนตัวเราโดยการตรวจดูว่ามีเม็ดใหม่ๆ ขึ้นมาหรือไม่ เม็ดไหนโตขึ้น หรือเม็ดไหนที่น่าสงสัยว่าจะผิดปกติ การตรวจหาว่าไฝเม็ดไหนมีลักษณะผิดปกติสามารถทำได้ทำด้วยตัวเองที่บ้าน โดยจัดตารางอย่างสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง และจดบันทึกเกี่ยวกับไฝทุกเม็ดให้ได้มากที่สุด อาจขอให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวช่วยตรวจดูแผ่นหลัง หรือแม้กระทั่งศีรษะด้านหลังด้วย ถ้าตรวจพบว่ามีไฝที่ส่วนใดของร่างกาย ควรเข้าพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อทำแผนภูมิของร่างกายและวิเคราะห์ให้ชัดเจน
ในการทำแผนภูมิของร่างกายนั้น เราจะถ่ายภาพ 20 ภาพทั่วร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า โดยจะมีการตรวจหาความผิดปกติของไฝด้วยเครื่อง dermoscope ประวัติของคนไข้จะถูกบันทึกเก็บไว้เพื่อเปรียบเทียบกันทุกปี วิธีนี้จะทำให้เราสามารถตรวจหาไฝเม็ดใหม่ๆ และเทียบของเก่าเพื่อหาความผิดปกติของไฝได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง ขนาด หรือสี ซึ่งสำคัญมากสำหรับคนที่มีไฝตามตัวหลายเม็ด คนที่ผิวหนังมีปัญหาจากแสงแดด (Photoaging) หรือ มีประวัติของมะเร็งผิวหนัง คนที่มีไฝมากกว่า 100 เม็ดขึ้นไปมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนังมากกว่าคนที่มีไฝเล็กน้อยถึง 7 เท่า
ให้ ทำตามกฎ ABCDE คือ
มะเร็งไฝก็เหมือนมะเร็งชนิดอื่นๆ คือ ยิ่งตรวจพบเร็วมากเท่าไหร่ยิ่งรักษาได้เร็วยิ่งขึ้นเท่านั้น ยิ่งถ้าพบตอนเม็ดเล็กก่อนที่จะโผล่ขึ้นบนหนังกำพร้า ยิ่งรักษาได้ดีที่สุด เพราะแพทย์สามารถส่องขยายด้วยกล้องส่องผิวหนังที่มีกำลังขยายสูง ซึ่งจะทำให้มองทะลุเห็นลักษณะของไฝในชั้นหนังแท้ได้
ไฝอาจจะไม่ได้กลายเป็นมะเร็งเสมอไป และมะเร็งผิวหนังอาจไม่ได้เกิดจากไฝ แต่มะเร็งผิวหนังก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นเราควรสำรวจร่างกายของเราอย่างสม่ำเสมอ
เมลาโนมา คือ เนื้อร้ายของเซลล์เม็ดสีผิว ซึ่งอยู่ชั้นบนสุดของผิวหนัง และป้องกันอันตรายของผิวจากแสงแดด บางครั้งเซลล์พวกนี้เกิดการกลายพันธุ์ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทุกวันนี้ยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถป้องกันการกลายพันธุ์นี้ได้ แต่มีวิธีการป้องกันไม่ให้เซลล์พวกนี้เป็นเซลล์มะเร็งได้
อย่างแรกเลยคือ ป้องกันตัวเองจากแสงแดดแรงกล้า โดยใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม ทาครีมกันแดดที่มี SPF เพื่อป้องกันผิวหน้าและมือ อย่างที่สองคือ จัดตารางตรวจหาไฝด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และบันทึกความเปลี่ยนแปลงอย่างละเอียด และพบแพทย์ปีละครั้งเพื่อเปรียบเทียบบันทึกของเรากับแผนภูมิร่างกายของแพทย์ จะได้ดูว่ามีอะไรผิดปกติเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าพบอาการผิดปกติ แพทย์อาจให้ตัดชิ้นเนื้อเพื่อผู้เชี่ยวชาญพยาธิวิทยาตรวจให้ชัดเจน
เมลาโนมา สามารถจัดระดับความรุนแรงได้ ตั้งแต่ 0-4 โดยที่ระดับ 0 จะง่ายต่อการรักษาและตัดออก ถ้าเป็นระดับ 4 หมายถึงมะเร็งได้กระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้ว โดยเฉพาะที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการฉายแสง หรือ คีโมบำบัด ไฝที่เป็นมะเร็งจะถูกตัดออกพร้อมกับหนังที่อยู่รอบๆ หากมะเร็งไฝเม็ดใหญ่ แพทย์ผ่าตัดจะทำงานคู่กับแพทย์ศัลยกรรมความงามเพื่อให้แน่ใจว่าแผลหลังผ่าตัดจะไม่เป็นแผลเป็นที่ไม่น่าดู
ใครจะรู้ว่าความเชื่อเรื่องไฝที่ให้ทั้งโชคดีและโชคร้ายของคนโบราณอาจจะเป็นจริงก็ได้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่