ผู้ปกครองควรจะต้องเฝ้าระวังว่าลูกๆ ที่อาจมีการเล่นเพลิน จนกระทั่งเผลอกลืนสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปากได้ ซึ่งสิ่งแปลกปลอมที่พบว่าเด็กกลืนบ่อยมากที่สุด คือ เหรียญ โดยเฉพาะเด็กๆ ที่อายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี แต่ส่วนใหญ่สิ่งที่เด็กกลืนเข้าไปนั้นจะสามารถหลุดออกจากทางเดินอาหารเองได้ 80-90% โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
แต่ 10-20% สิ่งแปลกปลอมอาจไม่สามารถหลุดออกมาเองได้ หรืออาจหลุดลึกเข้าไปจนต้องเอาออกด้วยวิธีส่องกล้องทางเดินอาหาร ส่วนอีก 1% อาจต้องเอาออกด้วยวิธีผ่าตัด
การเอาสิ่งแปลกปลอมออกขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของวัตถุที่กลืนลงไป ตำแหน่งที่สิ่งแปลกปลอมติดอยู่ อายุของเด็ก และระยะเวลาที่กลืนสิ่งแปลกปลอม
วัสดุบางชนิด เช่น พลาสติก ไม้ ก้างปลาเล็กๆ อาจถ่ายภาพรังสีไม่เห็น ดังนั้นประวัติอาการและตัวอย่างหรือรูปวัสดุที่กลืนเข้าไปมีความสำคัญที่จะช่วยให้แพทย์พิจารณาการรักษาได้อย่างถูกต้อง
เด็กอาจมีอาการ ไอ สำลัก หายใจไม่สะดวก เจ็บคอ น้ำลายไหลมาก น้ำลายมีเลือดปน กลืนน้ำลายหรืออาหารลำบาก ปฎิเสธอาหาร ปวดท้อง อาเจียนหรือถ่ายมีเลือดปน หรือบางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ เลยก็ได้
1. แบตเตอรี่ชนิดเม็ดกระดุม
เด็กกลืนแบตเตอรี่ แล้วมีอาการ แนะนำให้รีบส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกโดยเร็วที่สุด
เด็กกลืนแบตเตอรี่ แล้วไม่มีอาการ ให้ดูที่ขนาดของแบตเตอรี่ที่กลืน ดังนี้
2.แม่เหล็ก
เด็กกลืนแม่เหล็ก แล้วมีอาการ แนะนำให้รีบส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกโดยเร็วที่สุด
ลูกกลืนแม่เหล็ก แล้วไม่มีอาการ ให้ดูที่ขนาดของแม่เหล็กที่กลืน ดังนี้
3.เด็กกลืนเหรียญ
ลูกกลืนเหรียญ แล้วมีอาการ แนะนำให้รีบส่องกล้องทางเดินอาหารเอาออกภายใน 24 ชั่วโมง
ลูกกลืนเหรียญ ไม่มีอาการ ให้ดูที่ขนาดของเหรียญที่กลืน ดังนี้
4.ลูกกลืนวัตถุที่ยาว หรือแหลมคม
1. แบตเตอรี่ชนิดเม็ดกระดุม เหรียญ วัตถุไม่แหลมคม ไม่อันตราย
ถ้าหลุดผ่านกระเพาะมาได้แล้วส่วนใหญ่จะถ่ายอุจจาระออกเองได้โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนภายใน 1-2 สัปดาห์ โอกาสที่จะเกิดลำไส้ทะลุหรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น น้อยกว่าร้อยละ 1 แนะนำให้ดูอุจจาระทุกครั้งที่เด็กถ่ายจนกว่าจะพบสิ่งแปลกปลอมหลุดออกไม่ ถ้าไม่ออกมาใน 1 สัปดาห์ ให้พบแพทย์เพื่อเอกซเรย์ดูตำแหน่งของสิ่งแปลกปลอม ถ้าเด็กมีอาการ เช่น ปวดท้อง อาเจียน มีไข้ หรือถ่ายภาพรังสีแล้วสิ่งแปลกปลอมนั้นอยู่ตำแหน่งเดิมไม่เคลื่อนไหวใน 1 สัปดาห์แนะนำเอาออกด้วยวิธีผ่าตัด ไม่สามารถเอาออกด้วยวิธีส่องกล้องได้
2. แม่เหล็ก
ถ้า 1 ชิ้นหรือ มากกว่า 1 ชิ้นแต่อยู่ติดกัน สามารถถ่ายหลุดออกเองได้ แนะนำให้ถ่ายภาพรังสีติดตามทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ถ้ากลืนแม่เหล็ก > 1 ชิ้นที่ไม่อยู่ติดกัน หรือแม่เหล็กรวมกับวัตถุที่เป็นเหล็ก แนะนำให้ผ่าตัดเอาออก เนื่องจากแม่เหล็กอาจมาติดกันภายหลัง โดยมีเนื้อเยื่อกระเพาะ ลำไส้แทรกระหว่างแม่เหล็ก ทำให้เกิดลำไส้เน่าและทะลุได้
3. วัตถุแหลมคม
มีโอกาสเกิดลำไส้ทะลุร้อยละ 15-35 ถ้ามีอาการ ต้องเอาออกด้วยวิธีผ่าตัด แต่ถ้าไม่มีอาการแนะนำให้นอน รพ. เพื่อสังเกตอาการ และถ่ายภาพรังสีติดตามตำแหน่งของวัตถุทุกวัน รอจนกระทั้งถ่ายวัตถุนั้นออกมา แต่ถ้าวัตถุนั้นติดอยู่ที่เดิมนานมากกว่า 3 วัน หรือไม่สามารถถ่ายออกมาได้ภายใน 4 วัน พิจารณาให้เอาออกโดยการผ่าตัด
เด็กเล็กจะมีโอกาสหยิบและกลืนสิ่งแปลกปลอมเข้าปากได้ง่ายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นผู้ดูแลเด็กควรที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กเล่นของเล่นที่มีขนาดเล็ก และเก็บสิ่งของขนาดเล็กที่เด็กสามารถหยิบเข้าปากได้ให้พ้นมือเด็ก ไม่ปล่อยให้เด็กเล็กเล่นคนเดียว
*โปรดระบุ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่