เนื่องจากโรคโควิด-19 นั้นเป็นโรคอุบัติใหม่ และวัคซีนโควิด-19 ก็เป็นเรื่องที่ยังใหม่มาก จึงมีข้อมูลการศึกษาและงานวิจัยออกมาน้อยมากๆ เช่นกัน ณ ตอนนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2021) ประเทศไทยเริ่มให้มีการฉีดวัคซีนสำหรับประชาชนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และคนที่มีโรคประจำตัว แต่ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ยังมีความกังวลและมีคำถามเกี่ยวกับวัคซีนว่า ฉีดแล้วป้องกันได้จริงไหม ฉีดแล้วจะอันตรายไหม หรือฉีดแล้วใช้ชีวิตตามปกติได้เลยรึเปล่า
A1: โดยทั่วไป หลักการของการผลิตวัคซีน คือ การเอาเชื้อโรคมาทำให้อ่อนแรงจนไม่สามารถทำให้เกิดโรคในร่างกายได้ จึงนำมาผลิตเป็นวัคซีนแล้วฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อให้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมา เหมือนกับในวัคซีนโควิด-19 มีการนำเอาเชื้อก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆ มาทำเป็นวัคซีนแล้วฉีดเข้าไปในร่างกายของมนุษย์ เพื่อให้เราสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา โดยขณะนี้ วัคซีนโควิด-19 ที่ทุกประเทศผลิตผ่านการทดลองในขั้นของสัตว์ทดลองเรียบร้อยแล้ว มีการฉีดให้อาสาสมัครที่เป็นมนุษย์จำนวนมาก และมีการติดตามผลซึ่งพบว่าเป็นผลดี เนื่องจากร่างกายมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 เป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการศึกษาต่อไปว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นนี้จะยังคงอยู่ในระยะยาวหรือไม่ และอีกหนึ่งประเด็น คือ ไวรัสโควิด-19 เป็นไวรัสโคโรน่าที่มีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลาจึงยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า การฉีดวัคซีนนี้จะสามารถครอบคลุมการระบาดในระยะยาวได้หรือไม่ จำเป็นที่จะต้องฉีดทุกปีเหมือนกับไวรัสไข้หวัดใหญ่หรือเปล่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ยังมีข้อมูลไม่มาก ซึ่งเป็นประเด็นที่เราจะต้องติดตามต่อไป
A2: ขณะนี้ทุกประเทศทั่วโลกพยายามที่จะผลิตวัคซีน โควิด-19 ออกมาใช้ให้เร็วที่สุด ซึ่งกระบวนการผลิตและหลักการในการผลิตของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน จึงทำให้วัคซีนในปัจจุบันนั้นมีความแตกต่างกัน จากข้อมูลของศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลบอกว่า วัคซีนที่มีการผลิตและมีแนวโน้มที่จะได้ผลในปัจจุบันนี้มี 4 แบบด้วยกัน คือ
ปัจจุบันเรายังไม่มีข้อมูลในเรื่องของประสิทธิภาพของวัคซีนในระยะยาวว่าภูมิคุ้มกันจะอยู่ได้นานเท่าไหร่ และต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นบ่อยแค่ไหน จึงต้องติดตามข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป
A3: การได้รับวัคซีนเข็มแรกยังไม่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้มากพอที่จะสามารถป้องกันโรคและใช้ชีวิตได้ตามปกติ เรายังคงต้องสวมหน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และหมั่นล้างมืออยู่เสมอ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2021 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐหรือ CDC ได้มีประกาศฉบับใหม่แจ้งว่า หากได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว สามารถออกไปนอกบ้านหรือออกไปในพื้นที่เปิดโล่ง โดยไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยได้ รวมถึงไปทานข้าวพบปะสังสรรค์กับบุคคลอื่นที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วเช่นกัน แต่ยังคงแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยและรักษาระยะห่างทางสังคม หากต้องไปทำกิจกรรมที่มีผู้คนหนาแน่น
อย่างไรก็ตาม คำแนะนำนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้ เนื่องจากมีการใช้วัคซีนคนละชนิดกัน ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงอาจเกิดความเสี่ยงในการติดโรคหรือแพร่เชื้อโรคต่อไปได้ ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันที่แน่ชัดเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นนี้ แต่พบว่า แม้แต่ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วก็ยังสามารถติดเชื้อหรือป่วยอีกได้ (ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2021) สิ่งที่ควรทำที่สุดตอนนี้ คือ ทุกคนควรเฝ้าระวังสุขภาพของตัวเอง เพื่อลดจำนวนการติดเชื้อ ป้องกันตัวเอง และหยุดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19
*ในประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 64 (28 กุมภาพันธ์ 2021)
A4: วัคซีน คือ กระบวนการหนึ่งที่จะหยุดยั้งการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในวงกว้างได้ เมื่อร่างกายได้รับวัคซีนไม่ว่าจะเป็นวัคซีนของโรคใดๆ กระบวนการของร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น ทำให้เราไม่ป่วยเป็นโรคนั้น หรือถ้าป่วยก็มีอาการไม่รุนแรง การฉีดวัคซีน โควิด-19 ก็เช่นเดียวกัน จะทำให้ลดอาการป่วยลง หรือถ้ามีอาการป่วยก็จะไม่รุนแรง รวมถึงลดโอกาสการเสียชีวิตลงด้วย โดยทั่วไปเมื่อร่างกายได้รับวัคซีน ก็สามารถเกิดผลข้างเคียงได้ ตั้งแต่ผลข้างเคียงที่มีความรุนแรงมาก เช่น เสียชีวิต หรือผลข้างเคียงที่มีความรุนแรงน้อยๆ เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีอาการผื่นคัน การเสียชีวิตส่วนมากแล้วมักเกิดจากการแพ้วัคซีนอย่างรุนแรง รวมถึงการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ ที่อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับวัคซีน
A5: เนื่องจากโรคโควิด-19 ระบาดรุนแรงไปในทุกกลุ่มประชากร ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หนุ่มสาว หรือผู้สูงวัย ในขณะที่วัคซีนก็ยังผลิตได้ไม่มาก จึงอาจจะเกิดคำถามว่า ใครบ้างที่จะได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรกๆ
องค์การอนามัยโลกมีคำแนะนำว่า กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงและสมควรที่จะได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรกๆ มีทั้งหมด 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
ในปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2021) เนื่องจากมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างมากขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2021 จะมีกลุ่มอื่นๆ ของประชากรที่ทยอยได้รับวัคซีนบ้างแล้ว ได้แก่ ผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรือจังหวัดที่มีการระบาดเป็นจำนวนมาก เช่น กรุงเทพมหานคร เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมานี้ รัฐบาลประกาศให้ประชาชนทุกกลุ่มที่ประสงค์จะฉีดวัคซีนได้ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตาม ระหว่างนี้ เราก็ยังจำเป็นต้องรักษามาตรการต่างๆ ทางสาธารณสุขเอาไว้ ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ และรักษาระยะห่าง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและไม่ควรละเลย อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพมาก และสามารถป้องกันตัวเราได้เช่นกัน
A6: มีวัคซีนหลายชนิด ที่ฉีดเพียงครั้งเดียวก็เกิดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต เช่น วัคซีนป้องกันงูสวัด สำหรับไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน (11 Mar 2021) ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียวนั้นเพียงพอหรือไม่ เพราะด้วยความที่วัคซีน โควิด-19 เป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นใหม่ มีการฉีดและใช้กับผู้คนยังไม่เกิน 1 ปี ต้องมีการติดตามต่อไปว่าในระยะยาวแล้ว ภายใน 1 ปี ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นนั้นจะยังคงอยู่หรือไม่ ระดับของภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นลดลงไปในระยะเวลานานเท่าไหร่ ทั้งนี้ มีแนวโน้มสูงมากว่า การฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียวอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากไวรัส โควิด-19 เป็นไวรัสที่อยู่ในตระกูลโคโรน่า ซึ่งมีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นไปได้ว่า วัคซีนที่ผลิตในวันนี้อาจจะไม่ครอบคลุมการระบาดซึ่งเกิดจากตัวไวรัสที่กลายพันธุ์ไปแล้ว จึงต้องมีการติดตามต่อไปเป็นระยะ ดังนั้น มาตรการทางสาธารณสุขก็ยังมีความจำเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ และการรักษาระยะห่างทางสังคม
A7: สิ้นเดือนมกราคม ปี 2564 วัคซีนจำนวนหนึ่งล้านโดส ได้ถูกฉีดออกไปทั่วโลก หรือประมาณ 50 ล้านคนได้ฉีดวัคซีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ทำไมยังมีข่าวว่าคนที่ได้รับวัคซีนถึงยังติดเชื้อโควิด-19 อยู่
โดยสรุปแล้ว ปัจจัยทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมานั้น ทำให้เราพึงระวังและไม่ชะล่าใจจนเกินไป ถึงแม้ว่าเราจะฉีดวัคซีนแล้ว เราก็ยังมีอากาสติดเชื้อได้อยู่ดี
ทั้งนี้ เนื่องจาก วัคซีนโควิด-19 เป็นเรื่องที่ใหม่มาก ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนจึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามการศึกษาและงานวิจัยต่างๆ ในอนาคต เพราะฉะนั้นจึงแนะนำให้ประชาชนเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากผู้เชี่ยวชาญ หรือจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้เท่านั้น
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่