10 คำถาม Tennis elbow

10 คำถาม Tennis elbow

HIGHLIGHTS:

  • เจ็บข้อศอกด้านข้าง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น Tennis Elbow คือ ภาวะเอ็นข้อศอกด้านข้างเสื่อม ผิวข้อกระดูกอ่อนเสียหาย หินปูนแคลเซียมเกาะเส้นเอ็น ซึ่งวินิจฉัยได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกายที่เหมาะสมโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์
  • Tennis elbow อาจหายได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษา แต่หากอาการไม่ดีขึ้นและปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป อาจส่งผลให้ข้อศอกมีการบาดเจ็บซ้ำซ้อนต่อเนื่อง จนเกิดภาวะข้อศอกเสื่อมก่อนวัยอันควรได้
  • การรักษา Tennis elbow โดยการผ่าตัดอาจมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือ การผ่าตัดผ่านกล้อง arthroscopic surgery

10 คำถามไขข้อข้องใจเกี่ยวกับภาวะ Tennis elbow

1. สาเหตุของภาวะเอ็นข้อศอกด้านข้างเสื่อม (Lateral epicondylitis , Tennis elbow) เกิดจากอะไร?

2. อาการ เจ็บข้อศอกด้านข้าง เป็นผลมาจาก Tennis elbow เสมอไปหรือไม่ ?

3. สามารถตรวจวินิจฉัยภาวะ Tennis elbow ได้อย่างไร?

4. การวินิจฉัยภาวะ Tennis elbow หรือ ภาวะเอ็นข้อศอกด้านข้างเสื่อม จำเป็นต้องตรวจด้วยการเอกซเรย์หรือไม่?

5. Tennis elbow หรือ ภาวะเอ็นข้อศอกด้านข้างเสื่อม สามารถเกิดกับใครได้บ้าง ?

6. Tennis elbow สามารถหายเองได้หรือไม่ ?

7. มีวิธีการรักษา Tennis elbow หรือ ภาวะเอ็นข้อศอกด้านข้างเสื่อม อย่างไรบ้าง?

8. การฉีดสเตียรอยด์ สามารถรักษาภาวะเอ็นข้อศอกด้านข้างเสื่อมได้หรือไม่?

9. การฉีดสเตียรอยด์ มึความปลอดภัยแค่ไหนในการรักษา Tennis Elbow?

10. Tennis Elbow จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือไม่?

ตัวอย่างผู้ป่วย เจ็บข้อศอก Tennis elbow และการรักษา

เด็กชายอายุ 14 ปี เป็นนักเทนนิส มาด้วยอาการเจ็บบริเวณเอ็นด้านข้างข้อศอก

โดยได้รับการรักษาแบบเทนนิสเอลโบ มาหลายเดือน อาการไม่ดีขึ้น แพทย์ผู้เขียนให้วินิจฉัยภาวะกระดูกอ่อนแตก เพราะข้อศอกมีการเคลื่อนไหวที่เสียหายและรักษาด้วยการหยุดเล่น ใส่กายอุปกรณ์ดามแล้วไม่หาย ซึ่งตรวจยืนยันแล้วว่ากระดูกอ่อนไม่ติดด้วยการ MRI ผู้ป่วยจึงได้รับการผ่าตัดผ่านกล้องยึดชิ้นกระดูกที่แตก ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปแข่งเทนนิสต่อได้


ชายอายุ 15 ปีเป็นนักเรียนกีฬายิมนาสติก มีอาการปวดเรื้อรังด้านข้างข้อศอกและข้อศอกเหยียดไม่สุด  ได้รับการรักษาแบบ Tennis elbow 

ด้วยการรับประทานยา กายภาพบำบัด พัก งดการซ้อม อาการก็ไม่ดีขึ้น จึงถูกส่งตัวมารักษา แพทย์ผู้เขียนให้การวินิจฉัยว่ากระดูกอ่อนผิวข้อแตกหลุด ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดผ่านกล้องแก้ไข หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเหยียดศอกได้ดีขึ้นอย่างชัดเจนใน1-2 วันหลังผ่าตัด


หญิงอายุ 26 ปี  มีอาการเจ็บด้านข้างข้อศอกรุนแรงมากจนขยับข้อศอกได้น้อยลง ได้รับการการวินิจฉัยและรักษาแบบ tennis elbow 

รักษาไม่หายจึงถูกส่งต่อมาให้แพทย์ผู้เขียน  จากการตรวจร่างกายและส่งตรวจเพิ่มเติม ผู้ป่วยรายนี้ไม่เคยได้รับการตรวจเอกซเรย์ แพทย์ผู้เขียนจึงส่งไปตรวจและได้ให้การวินิจฉัยว่าเป็น ผลึกหินปูนเกาะเส้นเอ็น calcific tendinitis


ชายอายุ 42 ปี มีอาชีพเป็นเจ้าของกิจการส่วนตัว เล่นกีฬา ออกกำลังกายที่ฟิตเนส  เจ็บข้อศอก เป็นๆ หายๆ นาน 6 เดือน ได้รับวินิฉัยว่าเป็น tennis elbow 

รักษาด้วยการรับประทานยา ฉีดยา พักการใช้งาน ทำกายภาพบำบัด  และ Shock wave therapy (SWT) รวมถึงใช้ยาลดการอักเสบหลายชนิด แต่อาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยถูกส่งตัวมาปรึกษากับแพทย์ผู้เขียน จากการส่องกล้องพบผังผืดขบเบียดในข้อเวลาข้อศอกเหยียดงอ ส่งผลให้เกิดการเจ็บเรื้องรัง ในผู้ป่วยรายนี้ได้รับการกรอตัดผังผืดผ่านกล้อง ก็สามารถแก้ปัญหาได้


หญิงอายุ 39-45 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเทนนิสเอลโบ (Tennis elbow) และรักษาโดยการฉีดยาสเตียรอยด์  3-5 ครั้ง ช่วงหลังอาการปวดรุนแรงมากขึ้น

ลักษณะอาการเปลี่ยนแปลงและระยะเวลาหายปวดหลังฉีดสเตียรอยด์สั้นมากกว่าเดิมมาก จากการผ่าตัดผ่านกล้อง พบว่า สาเหตุที่ทำให้เจ็บเรื้อรังคือผังผืดขบในข้อ ซึ่งสามารถรักษาโดยการกรอตัดออก แต่เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้ ได้รับสเตียรอยด์ซ้ำๆ จนเส้นเอ็นหย่อนยาน ที่ดูได้จากภาพที่ข้อศอกหลวมออกมา จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดสร้างเส้นเอ็นเพิ่มเติม lateral collateral ligament reconstruction


พยาบาล อายุ 42 ปี ไม่สามารถวิดพื้นหรือดันตัวจากเก้าอี้ได้ เพราะอาการปวดข้อศอก

รักษาด้วยการรับประทานยา กายภาพบำบัด และฉีดสเตียรอยด์มาแล้ว 3 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น  พบภาวะเอ็นข้อศอกหย่อนยานจากยาสเตียรอยด์   จึงจำเป็นต้องผ่าตัดสร้างเอ็นขึ้นมาแก้ปัญหา

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?