หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นเด็กๆ มีอาการหนังตาบนบวม ขาบวม เท้าบวม ตัวบวม หรือปัสสาวะเป็นฟองมาก อาจเป็นกลุ่มอาการที่เรียกว่า อาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะเนฟโฟรติก (Nephrotic syndrome) หรือที่เรียกว่า ไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ
สามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุ แต่มักพบบ่อยในช่วงอายุ 1-8 ปี โดยมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกันไป อาจพบว่ามีการอักเสบของเส้นเลือดฝอยที่หน่วยการกรองของไต ที่เรียกว่า glomerulus ทำให้มีการรั่วของโปรตีน อัลบูมิน Albumin ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายปนออกมาในปัสสาวะ จึงส่งผลให้เกิดอาการดังกล่าวข้างต้นขึ้น นอกจากนั้นยังสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างตามมาได้
ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เหล่านี้ถือว่าค่อนข้างอันตรายอย่างมาก จำเป็นต้องเฝ้าติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้น
ถึงแม้อาการโปรตีนรั่วที่เกิดกับเด็กๆ ส่วนมากจะเป็นกลุ่มอาการที่ไม่ทราบสาเหตุ แต่ไม่ต้องกังวลว่าจะรักษาไม่ได้ เพราะในทางกลับกันกลุ่มไม่ทราบสาเหตุนี้จะตอบสนองต่อการรักษาดีถึง 80% จะมีเพียง 20% เท่านั้นที่การตอบสนองต่อการรักษาอาจจะช้าหรือตอบสนองไม่ดี
ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ ซึ่งส่วนมากทราบสาเหตุการเกิด จะให้รักษาตามสาเหตุ และควบคุมรักษาโรคประจำตัวที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น ยาอื่นที่พิจารณาก็อาจเป็น ยาลดโปรตีนในปัสสาวะ ยาลดระดับไขมันในเลือด ยาป้องกันการแข็งตัวหรือลิ่มเลือดอุดกั้นผิดปกติ หรือ steroid ก็มีการใช้ตามข้อบ่งชี้
ส่วนที่สงสัยว่าอาการจะหายขาดไหมนั้น ส่วนที่ทราบสาเหตุก็ขึ้นอยู่กับว่าดูแลควบคุมได้ดีแค่ไหน อาจหายขาดได้ หรืออาจประคับประคองให้ดีได้ตามแต่ชนิดและสาเหตุการเกิด แต่ส่วนที่ไม่ทราบสาเหตุซึ่งส่วนมากพบในเด็ก สามารถควบคุมอาการได้ แต่จะมีการกลับเป็นซ้ำได้เป็นระยะ โดยทั่วไปเด็กกลุ่มนี้ในปีแรกจะมีการกลับเป็นซ้ำประมาณ 50% ตามลักษณะของตัวโรคเอง และ 80% จะมีการกลับเป็นซ้ำอย่างน้อย 2-3 ครั้งได้ แต่เมื่อผ่านพ้นช่วงที่พบโรคนี้ชุก เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น โรคก็จะค่อย ๆน้อยลงจนหายไป
การติดเชื้อ ที่พบบ่อยคือการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน รองลงมาก็คือฟันผุ และการติดเชื้อพยาธิในทางเดินอาหาร ซึ่งควรเฝ้าระวังไม่ให้มีการติดเชื้อดังกล่าว และรีบมาพบแพทย์ ตรวจปัสสาวะซ้ำเมื่อพบว่ามีการติดเชื้อ
ต้องระวังป้องกันการติดเชื้อตามที่แพทย์แนะนำ ทานยาและมาพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ
สเตียรอยด์ เป็นยามาตรฐานที่ใช้ในการรักษาสำหรับกลุ่มอาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะ Nephrotic syndrome นับว่ามีประสิทธิภาพในการรักษามาก ปัจจุบันสามารถลดระยะเวลาการใช้ยาให้สั้นลงจากเดิม จากที่เคยใช้เวลาให้ยานาน 2-7 เดือน เหลือเพียง 2-3 เดือนเท่านั้น ผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อย โดยสเตียรอยด์เป็นยาที่มีมานานและมีประโยชน์ในการรักษาโรคอย่างมาก ตั้งแต่ใช้สำหรับลดการอักเสบ รักษากลุ่มอาการจากภูมิแพ้ รักษาโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ โรคมะเร็ง เป็นต้น ทั้งยังมีข้อบ่งชี้เป็นมาตรฐานการรักษาโรคหลายอย่าง และพบว่าประสิทธิภาพในการรักษาดี รวมทั้ง อาการโปรตีนรั่วในปัสสาวะด้วย
โดยสเตียรอยด์มีชื่อเล่นในกลุ่มชาวบ้านว่า “ยาผีบอก” เชื่อว่ารักษาโรคได้สารพัดเหมือนชื่อที่ตั้งให้ มีการปลอมปนเข้ามาในผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรยาลูกกลอนบางยี่ห้อ ทำให้อาการอักเสบบางอย่างดีขึ้นอย่างฉับพลัน ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่ายาได้ผลดี ได้รับยาแล้วอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
แต่ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานาน ก็อาจจะทำให้มีผลข้างเคียงจากยาได้มากขึ้นและรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับว่าตอบสนองต่อการรักษาดีแค่ไหน อัตราการเกิดเป็นซ้ำบ่อยแค่ไหน ระดับยา ขนาดยาที่ให้ เป็นชนิดรับประทานหรือชนิดฉีด และระยะเวลาการทานยายาวนานมากน้อยแค่ไหนด้วย ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มกดภูมิคุ้มกันอื่นมาช่วย
ดังนั้นในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์ค่อนข้างมาก ก็จะมีการพิจารณากลุ่มยากดภูมิคุ้มกันตัวอื่นเข้ามาร่วมด้วย เพื่อลดความเสี่ยงและโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของสเตียรอยด์ที่เพิ่มมากขึ้น
การรักษา อาการโปรตีนรั่วเนฟโฟรติก จึงจำเป็นต้องติดตามผลการรักษา การเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาร่วมด้วย ดังนั้นการติดตามอาการรักษาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อให้ได้การรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและได้รับผลข้างเคียงจากยาน้อยที่สุดจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและผู้ปกครองเองหากเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญ มารับการรักษาตามนัดอย่างต่อเนื่อง
ตารางการให้ยา | วัคซีนที่ให้ได้ | วัคซีนที่ควรหลีกเลี่ยง |
|
|
|
|
|
|
|
|
อ้างอิง: Sickkids, Toronto |
*ดังนั้นจึงแนะนำให้มุ่งเน้นการรับวัคซีนตามตารางข้างต้นเป็นหลัก
วัคซีนนิวโมคอคคัส แบ่งเป็น 2 ชนิดวัคซีนหลักคือ
ซึ่งแนะนำการรับวัคซีนตามด้านล่างนี้: (อ้างอิง Redbook.solution.aap.org; Redbook2018)
“ประเทศกำลังพัฒนา อาจมีการแยกเป็นวัคซีนบังคับและวัคซีนเสริม ซึ่งเป็นภาระของผู้ป่วยที่ต้องจ่ายค่าวัคซีนเอง ทำให้เข้าใจว่าเป็นเพียงวัคซีนเสริมไม่จำเป็นต้องรับก็ได้ ซึ่งประเทศพัฒนาแล้วทุกวัคซีนถูกบังคับให้ได้รับเกือบทั้งหมด”
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่