อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง ส่วนบนและส่วนล่าง ทำไมต้องตรวจ?

อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง ส่วนบนและส่วนล่าง ทำไมต้องตรวจ?

HIGHLIGHTS:

  • การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง ไม่มีการใช้ยาชาหรือฉีดยา ไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด คลื่นเสียงที่ใช้มีความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอันตราย ไม่มีรังสีสามารถตรวจในสุภาพสตรีที่ตั้งครรภ์ได้
  • การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เป็นการตรวจอวัยวะภายในช่องท้อง เพื่อหาความผิดปกติภายในช่องท้องเบื้องต้นในขณะที่ยังไม่มีอาการ หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น  มีอาการเจ็บปวด แน่นท้อง หรือผลเลือดแสดงค่าการทำงานของตับ ค่าการทำงานของไต หรือค่าสารบ่งชี้มะเร็งผิดปกติ
  • ในสุภาพสตรี มดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกและรังไข่ จะไม่เห็นจากการตรวจภายในหรือการเอกซเรย์ การตรวจอัลตร้าซาวด์ภายในจะสามารถมองเห็นอวัยวะได้อย่างชัดเจน เพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นหรือก่อนเกิดโรค

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง (Ultrasound Abdomen) คือ การสร้างภาพอวัยวะภายในช่องท้องด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง มีความปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดอันตราย เพื่อค้นหาความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง ช่วยในการวินิจฉัยโรค โดยทั่วไป การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องไม่มีการใช้ยาชาหรือฉีดยาที่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ แพทย์จะนำหัวตรวจมาแตะที่ผิวหนังบริเวณที่ต้องการตรวจและเลื่อนหัวตรวจไปมาเพื่อตรวจดูอวัยวะภายในช่องท้อง 

ประโยชน์ของการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

  • เพื่อตรวจอวัยวะภายในช่องท้อง เพื่อค้นหาความผิดปกติภายในช่องท้องเบื้องต้นในขณะที่ยังไม่มีอาการ หรือตามโปรแกรมในรายการตรวจสุขภาพประจำปี
  • เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ  เมื่อผู้ป่วยมีอาการผิดปกติภายในช่องท้อง 
  • เพื่อให้แพทย์จัดการวางแผนดูแลรักษา หรือติดตามการรักษาในอนาคต และให้คำแนะนำผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพช่องท้องได้อย่างถูกต้อง  

 

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องเพื่อค้นหาโรค

  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)  การตรวจดูอวัยวะช่องท้องส่วนบนเหนือระดับสะดือขึ้นไป ตรวจได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงเป็นการตรวจดูอวัยวะ เช่น ตับ ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดีส่วนต้น ไต และหลอดเลือดแดงใหญ่ ตับอ่อน เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค เช่น นิ่วที่ไต นิ่วที่ถุงน้ำดี เนื้องอกในตับ ไต เป็นต้น   
  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)  เป็นการตรวจในอุ้งเชิงกราน สำหรับสุภาพสตรี ได้แก่ มดลูกและรังไข่ สำหรับผู้ชาย ได้แก่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ และบริเวณช่องท้องส่วนล่างอื่น ๆ เพื่อค้นหาโรค เช่น เนื้องอกมดลูก  เนื้องอกหรือถุงน้ำรังไข่ ขนาดต่อมลูกหมาก นิ่ว  
  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen) การตรวจอวัยวะในช่องท้องทั้งหมด เช่น ตับ  ตับอ่อน ม้าม ถุงน้ำดี ไต มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ 

การเตรียมตัวก่อนตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

  • พบแพทย์ เพื่อรับทราบข้อมูลและรายละเอียดในการตรวจอัลตร้าซาวด์ส่วนต่างๆ  
  • งดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนเข้าการตรวจ ยกเว้น การตรวจช่องท้องส่วนล่างที่ควรดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมากที่สุดเท่าที่ดื่มได้และทำการกลั้นปัสสาวะอย่างต่ำ 1-2 ชั่วโมงก่อนรับการตรวจ เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะขยายตัว ยกเว้นในกรณีผู้หญิงที่สะดวกตรวจผ่านทางช่องคลอด ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำ
  • กรณีตรวจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สามารถจิบน้ำเปล่าก่อนตรวจได้เพียงเล็กน้อย
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว สามารถรับประทานยาได้ตามปกติ

ขั้นตอนการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

  • ให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจนอนบนเตียง  เปิดเสื้อบริเวณช่องท้อง
  • แพทย์จะใช้เจลใสทาผิวบริเวณหน้าท้อง เพื่อเป็นตัวกลางในการส่งคลื่นอัลตร้าซาวด์ตรงส่วนหัวตรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • กดบริเวณที่ตรวจเบา ๆ ด้วยหัวตรวจอัลตร้าซาวด์ วนไปมาตรงจุดที่ต้องการตรวจ
  • ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 10-30 นาที

ใครควรตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

  • ผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี 
  • ต้องการค้นหาความผิดปกติของช่องท้อง
  • มีปัญหาสุขภาพภายในช่องท้อง หรือมีอาการ เช่น ปวดท้องเรื้อรัง
  • มีอาการเจ็บปวด แน่นท้อง หรือผลเลือดแสดงค่าการทำงานของตับ ค่าการทำงานของไต หรือค่าสารบ่งชี้มะเร็งผิดปกติ
  • ตรวจเพื่อติดตามความผิดปกติของอวัยวะภายในช่องท้อง เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของความผิดปกตินั้น ๆ หรือติดตามอาการที่ได้รับการรักษาแล้ว

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องสำหรับผู้หญิง

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่างของผู้หญิง เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก และ รังไข่ เช่น เนื้องอกที่มดลูก ซีสต์ที่รังไข่  ช็อกโกแลตซีสต์ ผู้หญิงที่ควรตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง ได้แก่

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องสำหรับผู้ชาย

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องเป็นการตรวจอย่างละเอียดเพื่อดูขนาด ลักษณะ และรูปร่างของไต ตับ ถุงน้ำดี ม้าม ระบบทางเดินน้ำดี ตับอ่อน กระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมาก

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องเป็นหนึ่งในขั้นตอนการวินิจฉัยขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ที่มีอาการต่าง ๆ เช่น อาการปวดท้อง รวมถึงโรคต่างๆ ดังนี้

  • โรคตับ 
  • นิ่วในไต 
  • ไส้ติ่งอักเสบ
  • ตับอ่อนอักเสบ 
  • เนื้องอก  
  • ต่อมลูกหมากโต  

การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่

การตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่ หรือการอัลตร้าซาวด์ช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound) เป็นการตรวจโดยการใช้หัวตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงขนาดเล็กสอดเข้าในช่องคลอด เพื่อสร้างภาพภายในอุ้งเชิงกราน สามารถเห็นอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ได้แก่ ปากมดลูก มดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ ได้ชัดเจนกว่าการอัลตร้าซาวด์ผ่านทางหน้าท้อง มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยความผิดปกติของมดลูก โพรงมดลูก รังไข่ เช่น เนื้องอกที่มดลูก    ซีสต์หรือถุงน้ำของรังไข่ เช่น ช็อกโกแลตซีสต์ ความผิดปกติในโพรงมดลูก เช่น ติ่งเนื้อ ความผิดปกติของปากมดลูกและช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก  นอกจากนี้การอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดยังช่วยยืนยันและช่วยติดตามการตั้งครรภ์อีกด้วย  

ผู้หญิงจึงควรเข้ารับการตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่ โดยเฉพาะบุคคล ดังนี้

  • ผู้หญิงที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป หรืออายุน้อยกว่าแต่พบปัญหาดังนี้
    • ปวดท้องน้อย 
    • ประจำเดือนมาไม่ปกติ 
    • คลำพบก้อนที่ท้องน้อย
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคทางนรีเวช นอกจากจะตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่แล้ว ควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปีอีกด้วย

การเตรียมตัวก่อนตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่

  • ควรเข้ารับการตรวจหลังหมดประจำเดือนอย่างน้อย 3 วัน
  • ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด หรือไม่ใช้ยาเหน็บทางช่องคลอดภายใน 2 วัน ก่อนเข้ารับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 1 วัน
  • กรณีมีประจำเดือน หรือปวดท้องประจำเดือนอย่างมาก สามารถปรึกษาแพทย์โดยไม่ต้องรอให้ประจำเดือนหมด
  • สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ไม่รัดจนเกินไป และปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการตรวจ

วิธีการตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่

  • ผู้รับการตรวจจะนอนหงาย โดยให้ขาทั้งสองข้างพาดขาหยั่ง 
  • แพทย์ทำการสอดหัวตรวจที่ถูกคลุมด้วยถุงยางอนามัยและทาเจลหล่อลื่น เข้าไปทางช่องคลอด เพื่อถ่ายภาพอวัยวะในมุมต่าง ๆ 
  •  ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 15-60 นาที

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เป็นวิธีการตรวจที่ปลอดภัย ไม่มีรังสีใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผิวหนังของผู้เข้ารับการตรวจ การอัลตร้าซาวด์ช่องท้องก็มีความสำคัญไม่แพ้การตรวจสุขภาพซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ที่ควรทำเป็นประจำทุกปี   นอกจากนี้ในสุภาพสตรี ซึ่งมีอวัยวะภายในซับซ้อนควรเข้ารับการตรวจอัลตร้าซาวด์มดลูกและรังไข่เพิ่มเติม เพื่อค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นหรือก่อนเกิดโรค เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง 

Reference

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?