ไส้ติ่ง เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของทางเดินอาหาร ลักษณะเป็นท่อปลายตันรูปร่างเรียวยาวคล้ายหนอน ยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ยื่นออกมาเป็นติ่งทางด้านขวาของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น หรือบริเวณท้องน้อยด้านขวา มีหน้าที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน สร้างและปกป้องเชื้อจุลินทรีย์ในช่องท้อง ที่ช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
กรณีเกิดการอุดตันของโพรงในไส้ติ่งไม่ว่าจากสาเหตุใด จะทำให้มีการบวมอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี หรือได้รับการรักษาช้าเกินไป อาจทำให้ไส้ติ่งแตก จนมีการติดเชื้อในช่องท้องหรือในกระแสเลือด อาจทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) พบได้บ่อย โดยเฉพาะในคนวัยหนุ่มสาวอายุไม่เกิน 30 ปี สามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ไส้ติ่งอักเสบมักแสดงอาการปวดคล้ายอาการปวดท้องทั่วไป ดังนั้นต้องหมั่นสังเกตด้วยตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่อาการของโรคไส้ติ่งอักเสบจะเกิดขึ้นเป็นลำดับ ดังนี้
ไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากการอุดตันของไส้ติ่งจนมีภาวะอักเสบ เนื่องจากมีสิ่งแปลกปลอม เศษอุจจาระแข็งตัว พยาธิ ก้อนเนื้องอก เศษอาหารหรือแบคทีเรียก่อโรคสะสมในไส้ติ่ง
เมื่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลด้วยอาการปวดท้อง แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และตรวจปัสสาวะ อาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจอัลตร้าซาวด์ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ของช่องท้องเพิ่มเติม เพื่อการวินิจฉัยที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น
เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ การรักษาที่เหมาะสมคือ การได้รับการผ่าตัดเอาไส้ติ่งที่อักเสบออกมาโดยเร็ว ร่วมกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
การผ่าตัดไส้ติ่งมี 2 แบบ คือ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดความวิตกกังวลที่ต้องผ่าตัด ตั้งแต่การดมยาสลบ การเปิดหน้าท้องแผลใหญ่ หลังผ่าตัดต้องพักฟื้น รวมถึงารฟื้นตัวหลังผ่าตัด
ในปัจจุบันทั้งความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการของเครื่องมือทางการแพทย์ ส่งผลให้การผ่าตัดไส้ติ่งเป็นเรื่องไม่ยาก แผลเล็ก พักฟื้นไม่นาน และสามารถฟื้นตัวได้เร็ว ด้วยวิธีผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก (MIS)
วิธีการผ่าตัดรักษาไส้ติ่งอักเสบด้วยการส่องกล้อง แพทย์จะทำการเจาะรูเล็กๆ และสอดกล้องเข้าไปในช่องท้องบริเวณใต้สะดือ เมื่อพบว่าไส้ติ่งอักเสบ แพทย์จะทำการตัดเส้นเลือดที่เลี้ยงไส้ติ่ง รวมทั้งตัดไส้ติ่งออก เย็บปิดแผลซึ่งมีขนาดเล็กเพียง 1-2 เซนติเมตร การผ่าตัดผ่านกล้อง ศัลยแพทย์สามารถเห็นอวัยวะที่ต้องการผ่าตัดผ่านจอภาพ ซึ่งขยายใหญ่เห็นชัดเจนทำให้มีความแม่นยำสูง
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดด้วยกล้องมีข้อจำกัด ดังนี้
หลังผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีอาการท้องอืด รับประทานอาหารได้น้อยลงภายใน 1-2 วัน
กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะไส้ติ่งแตก แพทย์ต้องใช้น้ำเกลือล้างทำความสะอาดในช่องท้อง ร่วมกับใส่สายระบายเพื่อดักเชื้อที่ยังหลงเหลืออยู่ให้ออกไปจากร่างกาย ร่วมกับการให้ยาฆ่าเชื้อที่ได้ผลต่อเชื้อ ซึ่งจะทราบได้จากการเพาะเชื้อ กรณีที่มีเชื้อดื้อยาอาจจำเป็นต้องได้รับยาฆ่าเชื้อทางเส้นเลือดนานขึ้น อาจทำให้ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนานขึ้นประมาณ 3-7 วัน อาการข้างเคียงจากการได้รับยาฆ่าเชื้อติดต่อกันหลายวันอาจพบอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวได้
ทั้งนี้ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากการผ่าไส้ติ่งบริเวณที่มีแบคทีเรียปนเปื้อน ซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยมากประมาณ 2-3 % ในผู้ที่ผ่าตัดแบบเปิด และเพียง 1% กรณีผ่าตัดผ่านกล้อง
หลังผ่าตัดผู้ป่วยควรปฏิบัติ ดังนี้
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์จะอนุญาตให้กลับบ้านได้ภายในเวลา 2 วัน การนอนพักฟื้นในโรงพยาบาลเพื่อดูแลหลังผ่าตัด โดยมีการให้ยาฆ่าเชื้อ เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน กรณีผ่าตัดแบบส่องกล้อง ผู้ป่วยจะสามารถลุกขึ้นเดินได้หลังผ่าตัดภายใน 1 วัน เท่านั้น โดยแผลผ่าตัดจะค่อยๆ ดีขึ้น ดังนี้
ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ หลังจากผ่าตัดประมาณ 2-3 วัน กรณีที่ผู้ป่วยทำงานที่ต้องใช้แรง เช่น นักกีฬา หรือต้องยกของหนักมากกว่า 15 กิโลกรัม ควรพักจนกว่าแผลในชั้นกล้ามเนื้อจะแข็งแรง ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ผู้ที่ชอบออกกำลังกายควรต้องรอหลัง 1 เดือน เช่นกัน
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่