ออทิสติกสเปกตรัม (Autism Spectrum Disorder, ASD) คือโรคที่มีความบกพร่องของทักษะทางสังคมและการสื่อสาร ร่วมกับมีความผิดปกติทางพฤติกรรม โดยเด็กจะมีการทำพฤติกรรมบางอย่างซ้ำ ๆ มีความสนใจเฉพาะบางเรื่อง ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง รวมถึงอาจมีความไวต่อประสาทสัมผัสมากหรือน้อยกว่าปกติอีกด้วย
ที่มาของคำว่า ‘Spectrum’ มาจากความแตกต่างของอาการหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเด็กแต่ละคนจะมีอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกัน ความรุนแรงของอาการจะมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง
ทั้งนี้ เด็กออทิสติกบางคนมีพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารล่าช้าตั้งแต่ 1 ขวบแรก และในบางกลุ่มอาจยังไม่พบความผิดปกติที่ชัดเจน แต่พบภาวะถดถอยในด้านพัฒนาการเมื่ออายุได้ประมาณ 1 ขวบถึง 2 ขวบ ซึ่งในกลุ่มนี้นอกจากภาวะออทิสติกที่ต้องรักษาร่วมกับการปรับพฤติกรรมออทิสติกแล้ว อาจจะต้องตรวจประเมินเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาทร่วมด้วย
หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกกำลังมีภาวะออทิสติก ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ และวางแผนการรักษาให้เหมาะสมต่อไป
1.1 ออทิสติกแท้และออทิสติกเทียมต่างกันอย่างไร
ออทิสติกสเปกตรัมเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ส่งผลให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่ผิดปกติ และสามารถรักษาให้อาการน้อยลงได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคของแต่ละคน
แต่สำหรับออทิสติกเทียมมักมีสาเหตุเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม และขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น การที่ผู้เลี้ยงดูไม่เล่นกับเด็กอย่างเหมาะสม ปล่อยให้เด็กอยู่คนเดียวนาน ๆ หรือ ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ทำให้เด็กค่อย ๆ มีอาการที่คล้ายคลึงกับออทิสติกได้ เช่น เรียกไม่หัน ไม่สบตา พูดน้อยลง มีโลกส่วนตัวสูง ฯลฯ ซึ่งภาวะออทิสติกเทียมไม่ได้เกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิดเช่นเดียวกับออทิสติกสเปกตรัม สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม ร่วมกับเด็กได้รับเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด
แพทย์จะทำการตรวจประเมินพัฒนาการ และพฤติกรรม ผ่านการสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครอง ทั้งในด้านพัฒนาการที่ผ่านมา การเลี้ยงดู ร่วมกับตรวจประเมินพัฒนาการและพฤติกรรมผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ทำการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ปกครอง
ในกรณีที่เด็กมีพัฒนาการถดถอยในด้านพัฒนาการและสังคม ,สงสัย มีภาวะลมชัก หรือมีความบกพร่องทางระบบประสาทร่วมด้วย แพทย์จะปรึกษาให้กุมารแพทย์ระบบประสาทดูแลร่วมกัน เพื่อหาสาเหตุที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคทางระบบประสาทเพิ่มเติม
การปรับพฤติกรรมออทิสติกเป็นวิธีที่ช่วยให้เด็กสามารถเข้าสังคมและใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด เนื่องจากเด็กออทิสติกจะมีปัญหาด้านการสื่อสาร พฤติกรรม และการเข้าสังคม กรณีที่เด็กไม่ได้รับการรักษาและปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม อาจส่งผลให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้และเข้าสังคม ได้ตามวัย ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือใช้ชีวิตได้ตามลำพังในอนาคต
ออทิสติกสเปกตรัม เป็นโรคที่สามารถรักษาเพื่อให้อาการดีขึ้นได้ โดยจะเน้นไปที่การปรับพฤติกรรม และเพิ่มทักษะด้านต่าง ๆ ที่บกพร่องไป
4.1. การเพิ่มทักษะสำหรับเด็กออทิสติก
4.2. การปรับพฤติกรรมเด็กออทิสติก
เพื่อให้เด็กออทิสติกสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้เป็นปกติมากขึ้น มี เทคนิคที่ใช้ในการปรับพฤติกรรม มีหลายแบบ แพทย์ ร่วมกับทีม นักจิตวิทยาและนักแก้ไขการพูด จะทำการประเมิน ทำการฝึกและให้คำแนะนำ ให้เหมาะสมเป็นรายๆไป เทคนิคที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ เทคนิค ABA (Applied Behavioral Analysis) และเทคนิค DIR (Developmental Individual Difference, Relationship-based) หรือ Floor time เป็นต้น
มีการใช้กลุ่มยารักษา เพื่อช่วยลดการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเด็กออทิสติก เช่น กลุ่มยาที่ช่วยรักษาอาการอารมณ์แปรปรวน อยู่ไม่นิ่ง สมาธิสั้น ยึดติด หรือพฤติกรรมการทำร้ายตนเองและผู้อื่น เป็นต้น
5.1. การรักษาปรับพฤติกรรมออทิสติก ควรจะเริ่มตั้งแต่อายุเท่าไร
ปกติแล้วเด็กควรจะได้รับการประเมินพัฒนาการอย่างละเอียดในช่วงอายุ 9 เดือน 18 เดือน และ 24-36 เดือน หากการตรวจพัฒนาการแล้วพบว่า เด็กมีพัฒนาการที่ล่าช้า หรือพบความเสี่ยงที่จะมีพัฒนาการผิดปกติ ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที ยิ่งรับการรักษาเร็ว เด็กก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีพัฒนาการใกล้เคียงกับเด็กทั่วไปได้มากยิ่งขึ้น
5.2. เด็กกลุ่มไหนที่มีโอกาสเป็นออทิสติกและต้องเข้ารับการปรับพฤติกรรมออทิสติก
โดยอาการที่บ่งบอกว่า มีความเสี่ยง ที่จะเป็น กลุ่ม ออทิสติกสเปกตรัมมีดังนี้
ทั้งนี้หากมีคนในครอบครัวไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ ญาติ หรือพี่คนโตเป็นโรคออทิสติก เด็กก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นออทิสติกมากขึ้น จากความผิดปกติทางพันธุกรรม
5.3 อาการที่บ่งบอกว่าการปรับพฤติกรรมออทิสติกจะดีขึ้นได้หรือไม่ ใช้เวลาเท่าไร
โดยทั่วไปภายหลังจากได้รับการรักษาที่เหมาะสม เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ซี่งแตกต่างกันในแต่ละคน ระยะเวลาในการฝึก และความก้าวหน้าในการฝึก ก็ขึ้นอยุ่กับความรุนแรงของโรคเช่นกัน แต่ทั้งนี้ หากตรวจพบความบกพร่องและได้รับการรักษาที่อายุน้อย ก็จะมีโอกาสที่จะพัฒนา ได้มากขึ้น
โรคออทิสติกสเปกตรัม สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ การฝึกกระตุ้นพัฒนาการ ปรับพฤติกรรม จะช่วยให้คนไข้สามารถเรียนรู้ และ ใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติมากขึ้น ลดการพึ่งพาคนรอบข้างลง ช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ที่ศูนย์สร้างเสริมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก และศูนย์จิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช มีทีมกุมารแพทย์เฉพาะทาง ด้านพัฒนาการและพฤติกรรม จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น พยาบาลจิตเวช นักแก้ไขการพูด นักจิตวิทยาพัฒนาการ นักจิตวิทยาคลินิก เพื่อให้การดูแลรักษาเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เช่น เด็กออทิสติก เด็กพัฒนาการล่าช้า กลุ่มอาการที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม และอื่นๆ เด็กที่มีปัญหาด้านด้านอารมณ์และการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น เติบโตสมวัยทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่