ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำงานนอกบ้าน เทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าในโลกปัจจุบัน ทำให้การเลี้ยงดูลูกด้วยการปล่อยให้เด็กดูโทรทัศน์ หรือเล่นอุปกรณ์สื่อสาร อย่างแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน มากเกินไป ส่งผลให้เด็กใช้ชีวิตกับการสื่อสารทางเดียว (One-way communication ) ขาดการกระตุ้นในการสื่อสาร 2 ทาง (Two-way communication) ไม่มีการพูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จนเด็กเกิดความล่าช้าทางการสื่อสารและมีพัฒนาการทางสังคมไม่ปกติ
และในที่สุดจึงพบว่า ลูกไม่พูด พูดช้า หรือพูดภาษาการ์ตูน รวมถึงเล่นกับเด็กคนอื่นไม่เป็น ไม่ตอบโต้สบตาเวลาพูดคุย ไม่มีความสนใจร่วมกับผู้อื่น ไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองได้ อาจรุนแรงถึงขั้นแสดงออกด้วยการโวยวาย และอาละวาด ซึ่งหลายอาการแสดงออกเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเด็กในกลุ่มออทิสติก จนเกิดคำถามขึ้นในใจคุณพ่อคุณแม่ว่า ลูกเป็น “ออทิสติกแท้” หรือ “ออทิสติกเทียม”
ออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของสมอง ส่งผลให้เด็กเกิดพัฒนาการล่าช้า ไม่สามารถพัฒนาทักษะสังคมและภาษาได้เหมาะสมตามวัย มีลักษณะพฤติกรรม กิจกรรม และความสนใจเป็นแบบแผนซ้ำๆ ไม่ยืดหยุ่น ซึ่งลักษณะเฉพาะจะแสดงให้เห็นก่อนอายุ 3 ขวบ
แม้ปัจจุบันจะยังหาสาเหตุความผิดปกติที่ชัดเจนไม่ได้ แต่มีหลักฐานสนับสนุนชัดเจนว่าเกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติมากกว่าเป็นผลจากสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยการแพทย์ที่ก้าวหน้าและทันสมัย สามารถช่วยให้เด็กกลุ่มออทิสติกสามารถพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นมาก โดยเฉพาะหากได้รับการวินิจฉัยให้การดูแลช่วยเหลืออย่างเหมาะสมได้ทันท่วงทีตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำอย่างต่อเนื่อง
ทุกประเทศทั่วโลกมีแนวโน้มที่เด็กจะเกิดมาพร้อมภาวะออทิสติก โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่ได้มีการระบุถึงปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรคไว้ ดังนี้
ภาวะออทิสติก จะแสดงอาการแตกต่างกันไปในรายละเอียดของความบกพร่องและระดับความรุนแรง รวมถึงการเป็นโรคอื่นร่วมด้วย โดยสามารถสังเกตอาการผิดปกติของออทิสติกได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ ซึ่งจะชัดเจนและรุนแรงมากขึ้นเมื่ออายุ 3 ขวบ เป็นต้นไป โดยอาการแสดงออกที่สังเกตได้ มีดังนี้
ในเด็กที่เป็นออทิสติก จะพบว่าเป็นเด็กไฮเปอร์แอคทีฟประมาณ 70% และพบมีความบกพร่องทางสติปัญญาร่วมด้วย 50-70% ขณะเดียวกันก็พบว่าเด็กออทิสติกจะมีความสามารถพิเศษด้านอื่นๆ อยู่ 10%
ปัจจุบันยังไม่มียารักษาภาวะออทิสติกโดยเฉพาะ การรักษาจึงเป็นแบบประคับประคอง ดังนี้
ออทิสติกเทียม (Virtual autism) คือ ภาวะที่เด็กมีอาการคล้ายออทิสติกแต่ไม่ได้เป็นโรคจริง เด็กกลุ่มออทิสติกเทียมเกิดจากการขาดการดูแลอย่างเหมาะสม ไม่มีการกระตุ้นพัฒนาการ ขาดการเรียนรู้ การเล่นที่สมวัย ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไป โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด ที่ต้องแยกตัวจากเพื่อนและเรียนออนไลน์ อย่างไรก็ตาม หากเด็กกลุ่มที่มีภาวะออทิสติกเทียมได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม อาการที่สงสัยดูคล้ายภาวะออทิสติกจะสามารถหายไปได้
อย่างที่กล่าวมา สาเหตุหลักของออทิสติกเทียมไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม หรือจากความผิดปกติของสมอง แต่เกิดมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่มีการกระตุ้นพัฒนาการ จึงทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้า ไม่สมวัย ดังนี้
อาการของออทิสติกเทียมอาจคล้ายหรือแตกต่างจากออทิสติกแท้ สามารถสังเกตอาการที่เข้าข่ายออทิสติกเทียมได้ ดังนี้
การสังเกตว่าลูกจะเป็นออทิสติกแท้หรือเทียม อาจต้องอาศัยการย้อนกลับไปเช็กประวัติครอบครัวก่อน ว่าอาการที่สังเกตและคิดว่าลูกผิดปกตินั้น น่าจะเกิดจากความผิดปกติของสมองเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือไม่ เพราะอาการออทิสติกเทียมจะเกิดจากการเลี้ยงดูเป็นหลัก หากประวัติทารกในครรภ์ไม่ได้มีความผิดปกติ ก็อาจมองได้ว่าลูกเป็นออทิสติกเทียม
คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองที่สงสัยว่าลูกเป็นออทิสติกแท้หรือออทิสติกเทียม โดยที่ไม่มีประวัติผิดปกติช่วงตั้งครรภ์ แต่ต้องการหาข้อสรุป แนะนำให้พาบุตรหลานเข้ารับการตรวจเช็กพัฒนาการกับแพทย์เฉพาะทาง เพื่อวินิจฉัยอาการให้ถูกต้องชัดเจน ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะช่วง 5 ปีแรกของเด็กเป็นช่วงวัยที่สมองมีพัฒนาการอย่างเต็มที่ หากไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขที่ถูกต้องอาจทำให้เด็กผิดปกติไปในระยะยาว แก้ไขไม่ได้
การบำบัดรักษาเด็กออทิสติกและเด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียม เมื่อผ่านการตรวจประเมิน และวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทางแล้ว จะเข้าสู่การบำบัดรักษาโดยทีมนักวิชาชีพต่างๆ นักกิจกรรมบำบัด ปรับระดับการรับความรู้สึกในด้านต่างๆ ให้เหมาะสม ลดอาการซน อยู่ไม่นิ่ง และส่งเสริมทักษะต่างๆ ในการใช้ชีวิต ดังนี้
ตามที่กล่าวมา ภาวะออทิสติกเทียมมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการเลี้ยงดูเด็กอย่างเหมาะสม จะช่วยป้องกันอาการของภาวะออทิสติกเทียมได้ ดังนี้
แม้ออทิสติกแท้จะสามารถบำบัดให้มีพฤติกรรมดีขึ้นแต่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ขณะเดียวกันออทิสติกเทียมสามารถบำบัดดูแลพฤติกรรมให้กลับมาเป็นเด็กปกติได้ แต่ทั้งออทิสติกแท้และเทียมต่างมีครอบครัวเป็นกำลังที่สำคัญที่สุด เป็นปัจจัยช่วยบำบัดรักษาปรับพัฒนาการของเด็กได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองควรใส่ใจและหมั่นสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากสงสัยหรือไม่แน่ใจ ควรพาเด็กพบแพทย์เพื่อทำการประเมินให้การรักษา รวมถึงบำบัดอย่างถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่เนิ่นๆ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่