ภาวะสมองฝ่อ (Cerebral atrophy หรือ Brain atrophy) หมายถึง ภาวะสูญเสียเซลล์สมองและการเชื่อมกันของเซลล์สมอง อาจเกิดทั่วทุกบริเวณของสมองหรือแค่เฉพาะบางส่วนก็ได้ แม้โดยทั่วไปภาวะสมองฝ่ออาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุ แต่ในทางการแพทย์ ภาวะสมองฝ่อมักหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าการเปลี่ยนแปลงที่ควรจะเป็นตามอายุ
ภาวะสมองฝ่อ (Cerebral atrophy) และสมองเสื่อม (Dementia) มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก โดยภาวะสมองเสื่อมทำให้เกิดการตายของเซลล์สมองและทำให้เกิดภาวะสมองฝ่อได้ ภาวะสมองเสื่อมทำให้มีความผิดปกติในหลายด้านนอกจากระบบประสาทและสมอง โดยจะมีผลทั้งด้านความคิด ความจำ การเคลื่อนไหว พฤติกรรม อารมณ์ ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
แม้ภาวะสมองฝ่อจะเป็นความเปลี่ยนแปลงตามปกติของอายุ ทำให้พบได้มากในผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ ทำให้พบในช่วงอายุอื่นได้เช่นเดียวกัน
แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจตามภาวะที่สงสัย เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (Computerized tomography – CT) การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging - MRI) หรือ ตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีบางอย่างก่อนการเกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้
สาเหตุของภาวะสมองฝ่อมีหลายสาเหตุ สาเหตุหนึ่งคือการมีสารโฮโมซิสเทอีน (Homocysteine) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีนชนิดหนึ่งมากเกินไป โดยปกติร่างกายจะพยายามกำจัดสารโฮโมซิสเทอีนให้กลายเป็นสารซิสทีนซึ่งไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกายแทน แต่อาจมีบางปัจจัยที่ทำให้การกำจัดสารโฮโมซิสเทอีนผิดปกติไป ส่งผลให้มีสารนี้ในปริมาณมาก เช่น
มีงานวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามิน B เสริมมีอัตราการเกิดสมองฝ่อน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้รับวิตามิน B เสริม ดังนั้นการได้รับวิตามิน B เสริมจึงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการชะลอภาวะสมองฝ่อได้
หากภาวะสมองฝ่อเกิดจากสาเหตุที่รักษาได้ เช่นจากโรคต่าง ๆ การรักษาตัวโรคสามารถทำให้อาการของสมองฝ่อดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตามอาการอาจไม่หายขาด ซึ่งปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาภาวะสมองฝ่อ และ สมองเสื่อม ที่มีการรับรองว่าได้ผล โดยเฉพาะถ้าได้รับการรักษาเร็ว
ที่สำคัญคือการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและการทำกิจกรรมที่ใช้ความคิด สามารถช่วยชะลออาการของภาวะสมองฝ่อได้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่