เบาหวานในเด็ก คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดของเด็กสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน จากการที่ร่างกายไม่สามารถหลั่งอินซูลินออกมาควบคุมระดับน้ำตาลได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
เบาหวานในเด็กมี 2 ชนิดหลัก ๆ ด้วยกัน ได้แก่
2.1. เบาหวานชนิดที่ 1
เบาหวานชนิดที่ 1 (type 1 diabetes) ถือเป็นเบาหวานในเด็กที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเบต้าเซลล์ (β cells) ของตับอ่อนถูกทำลายโดยกระบวนการทางพันธุกรรม ร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาได้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้ จนเกิดการสะสมน้ำตาลในเลือดสูง หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี จะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังได้
2.2. เบาหวานชนิดที่ 2
เบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes) ตับอ่อนจะยังสามารถผลิตอินซูลินได้ แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือผลิตได้เพียงพอแต่มีภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้เกิดเบาหวานในเด็ก โดยมีแนวโน้มพบเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากขึ้นจากเด็กที่เป็นโรคอ้วนร่วมด้วย
ทั้งนี้ เบาหวานในเด็กที่พบได้บ่อยจะเป็นชนิดที่ 1 มากกว่าชนิดที่ 2 แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาสัดส่วนเด็กที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับโรคอ้วนในเด็กที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
อาการเบาหวานในเด็กทั้ง 2 ชนิด ค่อนข้างคล้ายกัน โดยอาการที่มักจะพบบ่อยเป็นอันดับแรก ๆ ได้แก่
ทั้งนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 มักจะมีอาการเฉียบพลันและรุนแรง จึงมีโอกาสเกิดภาวะเลือดเป็นกรดได้มากกว่าเบาหวานชนิดที่ 2 กลับกันกับอาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะค่อยเป็นค่อยไป ไม่รวดเร็ว แต่เรื้อรัง ซึ่งจะเจอได้บ่อยในเด็กที่เป็นโรคอ้วน สังเกตได้จากปื้นดำบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ และตามข้อพับต่าง ๆ
เบาหวานในเด็ก เป็นโรคแบบ Multifactorial Disorders หรือโรคที่มีหลายปัจจัยร่วมกัน โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
เบาหวานชนิดที่ 1 ถือเป็นเบาหวานในเด็กที่ค่อนข้างอันตราย หากได้รับการตรวจรักษาช้า เพราะถ้าไม่มีการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ ผู้ป่วยจะมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ง่าย เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา ผิวหนังติดเชื้อ โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
เบาหวานชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่มีการดำเนินโรคที่ค่อนข้างรวดเร็ว ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อมีอาการค่อนข้างมากแล้ว โดยอาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 เช่น
ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 จะดำเนินโรคไปอย่างเรื้อรัง หากไม่มีการควบคุมโรคที่ดี หรือลูกเป็นเบาหวานเป็นระยะเวลานาน และรักษาตัวช้า จะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่น เบาหวานขึ้นจอตาจนมองเห็นไม่ชัด เกิดโรคไตวาย มือเท้าชาปลายประสาทเสื่อม โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและหัวใจวาย มีแผลเบาหวานที่เท้า เป็นต้น
อาการบางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนโรคเบาหวานในเด็ก พ่อแม่ไม่ควรละเลยความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และรีบพาลูกมาพบแพทย์ เพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ก่อนเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องเป็นลำดับต่อไป โดยอาการที่ควรระวัง มีดังนี้
เด็กมีอาการปัสสาวะบ่อยตลอดวัน จากการที่ร่างกายพยายามขับน้ำตาลส่วนเกินออกไป
เบาหวานในเด็กจะใช้การตรวจวินิจฉัยเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ดังนี้
การรักษาเบาหวานในเด็กชนิดที่ 1 จำเป็นต้องได้รับการฉีดอินซูลินทดแทนไปตลอดชีวิต โดยฉีด 3-4 ครั้งต่อวัน ร่วมกับการเจาะเลือดปลายนิ้วก่อนอาหาร 3 มื้อและก่อนนอน เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดจำนวน 4-5 ครั้งต่อวัน หรือติดเครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่องตลอดเวลา (CGM ; Continuous Glucose Monitoring) จะช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้เลือดได้ดี ลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนไม่พึงประสงค์
สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2 จะรักษาโดยการกินยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบถ้วนตามโภชนาการ และต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้อาการโดยรวมดีขึ้น แต่ในรายที่อาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วย
หลังเข้ารับการวินิจฉัยและหาแนวทางรักษาเบาหวานในเด็กทั้ง 2 ชนิดแล้ว ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ผลลัพธ์เป็นไปตามเป้าหมาย คือการควบคุมระดับน้ำตาลให้เลือดให้เป็นปกติ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรจัดเตรียมมื้ออาหารให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วน พร้อมคำนวณปริมาณคาร์โบไฮเดรตอย่างเหมาะสม เพื่อให้อินซูลินได้ตามสัดส่วนที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังควรลดกิจกรรมหน้าจอต่าง ๆ ให้น้อยลง เพิ่มการขยับตัวและออกกำลังกายเป็นประจำ จะส่งผลดีต่อสุขภาพ ช่วยควบคุมน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น
เบาหวานในเด็กชนิดที่ 1 ปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันได้ แต่สำหรับเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากโรคอ้วน สามารถป้องกันได้ โดยผู้ปกครองควรใส่ใจเรื่องโภชนาการในเด็กให้มาก เน้นการจัดมื้ออาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและน้ำตาลสูง เช่น ของทอด ของมัน ของหวาน อาหารฟาสต์ฟู้ดต่าง ๆ หรือเบเกอรี เป็นต้น
ควรควบคุมอาหารไปพร้อมกับการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของเด็ก ๆ ไม่ควรให้ติดเด็กติดจอโทรศัพท์มากเกินไป คอยสนับสนุนให้ลูกออกไปทำกิจกรรมที่มีการขยับร่างกาย ให้ร่างกายได้ใช้พลังงาน หรือชวนออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน จะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานในเด็ก
11.1. เมื่อไหร่ที่ต้องตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในเด็ก
การตรวจคัดกรองเบาหวานในเด็กชนิดที่ 2 แนะนำให้ตรวจในเด็กอายุ 10 ปีเป็นต้นไป โดยพิจารณาร่วมกับปัจจัยเสี่ยง เช่น คนในครอบครัวมีประวัติเป็นเบาหวาน คุณแม่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ น้ำหนักแรกคลอดมากกว่าหรือเท่ากับ 4 กิโลกรัม หรือมีสัญญาณดื้ออินซูลิน ปรากฏรอยดำที่คอหรือรักแร้ หากมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า 2 ข้อ ควรรับการตรวจคัดกรอง
11.2. เด็กอ้วน เสี่ยงเป็นเบาหวานไหม
เบาหวานในเด็กเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการเกิน เด็กที่อ้วนจากพฤติกรรมการกินไม่เหมาะสม เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ง่ายกว่าเด็กทั่วไป จะส่งผลให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักและถูกทำลายไปเรื่อย ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้น โอกาสเกิดเบาหวานจึงสูงตามไปด้วย
11.3. เบาหวานในเด็กกับผู้ใหญ่มีความแตกต่างกันไหม
เด็กเป็นเบาหวานกับผู้ใหญ่เป็นเบาหวานมีความคล้ายคลึงกันกรณีเป็นชนิดที่ 2 เพราะโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ส่วนมากเป็นชนิดนี้ ส่วนความแตกต่างจะอยู่ในขั้นตอนการรักษาที่ต้องละเอียดซับซ้อนมากกว่า และเสี่ยงเจอโรคแทรกซ้อนได้เยอะกว่า เนื่องจากเด็กยังควบคุมดูแลอาหารได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่
เบาหวานในเด็กเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือมีภาวะดื้ออินซูลิน ทำให้น้ำตาลสะสมในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานมักมีอาการปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ทานเยอะแต่น้ำหนักลด ถ้าไม่รีบรักษาจะเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากมาย
หากต้องการตรวจคัดกรองเบาหวานในเด็กและเข้ารับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ที่โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช มีศูนย์การเจริญเติบโต ต่อมไร้ท่อและเบาหวานในเด็ก ที่ให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโตของเด็กและภาวะผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น พร้อมให้บริการโดยทีมกุมารแพทย์เฉพาะทาง ที่ทำงานร่วมกันหลายแผนก ไม่ว่าจะเป็นกุมารแพทย์ด้านโรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ และกุมารแพทย์เฉพาะทางอื่น ๆ สำหรับกรณีเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต ช่วยเพิ่มความอุ่นใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
โรคเบาหวานในเด็กไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หากได้รับการรักษาและฟื้นฟูอย่างถูกต้อง ผู้ปกครองจึงควรหมั่นดูแลเรื่องโภชนาการของบุตรหลาน และตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อคัดกรองเบาหวานแต่เนิ่น ๆ ช่วยให้สามารถควบคุมอาการได้ดี เด็กใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขยิ่งขึ้น
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่