ไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงวัย อันตรายกว่าที่คิด

ไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงวัย อันตรายกว่าที่คิด

Highlight :

  • 10% ของผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น 
  • การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้สูงอายุ  ส่งผลกระทบต่อร่างกายมากกว่าคนทั่วไป  เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบมากกว่าคนทั่วไป 8 เท่า และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบมากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า  
  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้สูงวัย   สามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ เพิ่มขึ้นถึง 24.2%  เมื่อเทียบกับ ผู้ที่ได้รับวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์แบบปกติ

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจที่พบบ่อยและมักจะมีการระบาดช่วงฤดูฝน อาการไข้หวัดใหญ่ ที่พบทั่วไปคือ เป็นไข้  ไอ  ปวดเมื่อยตามตัว ในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงจะหายเองในเวลา 3-5 วัน 

แต่ในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน มักมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล จากข้อมูลในประเทศไทยพบว่ากลุ่มที่มีอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสูงที่สุดจากโรคไข้หวัดใหญ่คือ เด็กเล็กและผู้สูงอายุ

สาเหตุหลักที่ทำให้ ผู้สูงอายุที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น

  1. ภาวะภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence)  
    ผู้สูงอายุมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา หรือไวรัส ภาวะร่างกายเสื่อมถอยและสูญเสียความสมดุลก็จะเกิดการอักเสบรุนแรง  ซึ่งเป็นกระบวนการของระบบภูมิคุ้มกัน ที่เกิดขึ้นจนไม่สามารถยับยั้งและเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
  2. โรคประจำตัวที่รักษาไม่หายขาด (Underlying disease) 
    ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต เบาหวาน และโรคมะเร็ง หากพบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีความเสี่ยงสูงที่จะพบอาการแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อไซนัสหรือหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
  3. ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty)
    ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของร่างกายซึ่งอยู่ระหว่างกลางของความสามารถในการทำงานได้กับภาวะไร้ความสามารถ และอยู่ระหว่างความมีสุขภาพดีกับความเป็นโรค นับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบบ่อยในผู้สูงอายุ เมื่อผู้สูงอายุติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ พบว่า 10% ของผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลยังไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมได้ตามปกติภายใน 1 ปี 

ไข้หวัดใหญ่ ในผู้สูงอายุ ทำไมถึงอัตรายกว่าที่คิด

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อร่างกายผู้สูงอายุ  มากกว่าคนทั่วไป เนื่องจาก

  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองตีบมากกว่าคนทั่วไป 8 เท่า     และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบมากกว่าคนทั่วไป 10 เท่า เนื่องจากไข้หวัดใหญ่ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ หัวใจและหลอดเลือดต้องทำงานหนัก อาการอักเสบนั้นเกิดจากเมื่อเม็ดเลือดขาวทำการต่อสู้กับไวรัส ซึ่งทำให้มีอาการ เจ็บคอ ปวดหัว ปวดเนื้อปวดตัว คัดจมูก เหนื่อยล้า เป็นต้น  และการที่เม็ดเลือดขาวถูกสร้างขึ้นเพื่อไปสู้กับสิ่งแปลกปลอมอย่างไวรัสหรือแบคทีเรีย ก็ก่อให้เกิดอาการภาวะลิ่มเลือด อันส่งผลให้ความดันสูงขึ้นและเลือดไหลเวียนได้ลำบาก ทั้งหมดนี้เองที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองและหัวใจไม่เพียงพอ
  • ในผู้ที่เป็นเบาหวาน 75% จะมีปัญหาระดับน้ำตาลผิดปกติ  ในผู้ป่วยเบาหวานเมื่อติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงของผู้ป่วยเบาหวานจะรบกวนการทำงานของเม็ดเลือดขาว ความสามารถในการทำลายเชื้อโรคลดลง ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป และมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม  หูอักเสบ  มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงชีวิต
  •  ในผู้สูงอายุที่มีภูมิต้านทานต่ำ โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากปอดอักเสบสูงมาก เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้เสียชีวิตสูงถึง 50% เป็นเหตุผลให้โรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุน่ากลัวกว่าปอดอักเสบในคนทั่วไป
  • 23% จะสูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง หลังจากเจ็บป่วยจากไข้หวัดใหญ่

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดช่วงไหน ในแต่ละปี

โรคไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปี เพราะในแต่ละปีเชื้อโรคมีการเปลี่ยนแปลง และพบการกลายพันธุ์ ทำให้เกิดเชื้อตัวใหม่ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นกว่าเดิม วัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเชื้อที่ระบาดในช่วงเวลานั้น 

โดยวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถฉีดได้ตลอดปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสม คือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เนื่องจากเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาด 

ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ดีขึ้น และสามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ลดการนอนโรงพยาบาลจากปอดอักเสบจากไข้หวัดใหญ่    ลดการนอนโรงพยาบาลจากระบบทางเดินหายใจ และลดการนอนโรงพยาบาลจากไข้หวัดใหญ่ ได้อีกด้วย

วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ ต่างจาก วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ อย่างไร? ทำไมผู้สูงอายุควรฉีด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ เป็นวัคซีน ที่มีแอนติเจน  4 เท่า เทียบกับ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปกติ  มีข้อบ่งชี้ ให้ฉีดได้ในผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป 
(Ref: Quadrivalent Influenza Vaccine (Split Virion, Inactivated), 60 mcg HA/strain SMPC. Internal data)

จากการศึกษาที่ประเทศอเมริกาและแคนาดาช่วงปี 2011-2013  ในผู้สูงอายุ 65 ปี จำนวน 31,989 คน ทำการศึกษา เปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์  และ วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย    พบว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้สูงวัย   สามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ เพิ่มขึ้นถึง 24.2%  เมื่อเทียบกับ ผู้ที่ได้รับวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์แบบปกติ 

นอกจากการป้องกันไข้หวัดใหญ่แล้วในการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงวัย สามารถลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้เพิ่มเมื่อเทียบกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบปกติ

  • ลดความรุนแรงถึงขั้นนอนโรงพยาบาลจากโรคไข้หวัดใหญ่ หรือปอดอักเสบได้   64.4 % 
  • ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้  48.9 %  

ความปลอดภัยของวัคซีนไข้หวัดใหญ่สำหรับผู้สูงอายุ และ ผลข้างเคียงวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ปัจจุบันมีการฉีดไปแล้วมากกว่า 202 ล้านเข็มทั่วโลกและมีการติดตามความปลอดภัยในผู้ใช้วัคซีน พบว่าไม่มีข้อกังวลทางด้านความปลอดภัย จากการเก็บข้อมูลด้านความปลอดภัยในผู้ที่ใช้วัคซีนตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี ไม่พบว่ามีอาการไม่พึงประสงค์ที่น่ากังวล 

ในส่วนของอาการที่เกิดจากปฏิกิริยาต่อระบบอื่นๆ (systemic reaction) นั้นไม่แตกต่างจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ แบบปกติ 

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?