การกลั้นอุจจาระ อาจเป็นพฤติกรรมที่หลายคนทำเป็นปกติ เนื่องด้วยการดำเนินชีวิต ที่ไม่เอื้อต่อการเข้าห้องน้ำ เมื่อปวดอุจจาระและมีความรีบเร่งในชีวิตประจำวัน ก็ทำให้กลั้นอุจจาระจนเคยชิน แต่ทราบหรือไม่ว่า การกลั้นอุจจาระ สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายและอาจก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้
การกลั้นอุจจาระ อาจส่งผลเสียต่าง ๆ ต่อร่างกาย ดังนี้
นอกจากนี้หากมีการกลั้นอุจจาระจนท้องผูก และต้องใช้ยาระบายบ่อย ๆ อาจเกิดภาวะลำไส้ดื้อยา ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยาไปเรื่อย ๆ
จากผลเสียของการกลั้นอุจจาระดังที่กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการไม่กลั้นอุจจาระ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นกิจวัตร โดยการปฏิบัติตัว ดังนี้
อย่างที่เราทราบกันดีว่า ถ้าระบบการขับถ่ายผิดปกติ อาจจะทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับสุขภาพลำไส้ตามมา ได้แก่ ริดสีดวงทวารหนัก แผลปริที่ขอบทวารหนัก ลำไส้อักเสบเรื้อรัง มะเร็งลำไส้ ฯลฯ
ดังนั้นหากระบบทางเดินอาหารมีปัญหา หรือขาดสมดุล ร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้ปกติ ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ขาดสมาธิ สุดท้ายอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอย่างมะเร็งได้
ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ด้วยเทคนิคที่ทันสมัยผ่านทางกล้อง เช่น NBI (Narrow Band Image) EMR (Endoscopic Mucosal Resection) และ Endobrain (เป็นprogram AI) ที่ช่วยประเมินความเสี่ยงของติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ ซึ่งในการตรวจคัดกรองนั้น มีดังนี้
ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ประมาณ 5% เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งได้รับยีนที่ผิดปกติมาจากบิดาหรือมารดา
ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ชนิดที่พบบ่อยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
Familial adenomatous polyposis (FAP)
เป็นโรคทางพันธุกรรมที่พบประมาณ 0.5-1% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกลายพันธุ์ของยีน APC tumor suppressor gene โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและมากกว่า 99% จะพัฒนาเป็นมะเร็งในช่วงอายุก่อน 40 ปี
Hereditary Nonpolyposis Colorectal Cancer (HNPCC) หรือ Lynch Syndrome
เป็นโรคทางพันธุกรรม เช่นเดียวกับ FAP แต่พบได้บ่อยกว่า คือ ประมาณ 3-5% ของผู้ที่เป็นมะเร็ง โรคนี้เกิดจากยีน MLH1, MSH2, MSH6 และ PMS2 ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบรหัสพันธุกรรมเกิดการกลายพันธุ์ ปกติแล้วโรคนี้ตลอดช่วงชีวิต มีโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้สูงถึง 80%
อายุเฉลี่ยของการเกิดมะเร็งลำไส้อยู่ที่ประมาณ 40-50 ปี อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่อื่นๆ ได้อีก เช่น มดลูก กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับอ่อน ไต และท่อทางเดินปัสสาวะ
โรงพยาบาลสมิติเวช ผู้นำด้านการแพทย์แบบเจาะจง (Precision Medicine) มีการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจยีนขั้นสูง ในการดูแลสุขภาพเชิงรุกโดยค้นหารหัสพันธุกรรมที่ผิดปกติในร่างกาย มีการนำมาใช้แพร่หลายในกลุ่มโรคมะเร็ง ซึ่งมีประโยชน์สำหรับ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ต้องการทราบว่ามียีนผิดปกติ ที่อาจส่งต่อลูกหลานได้ในอนาคตหรือไม่
ญาติสายตรงของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่ต้องการทราบว่าในร่างกายของตนเอง มียีนผิดปกติที่ถ่ายทอดมาจากบิดามารดาหรือไม่ การตรวจยีนมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะช่วยให้แพทย์ด้านโรคทางพันธุกรรมหาแนวทางป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต แบบเฉพาะบุคคล เช่น วางแผนแนะนำอายุที่เหมาะสมที่ควรเริ่มรับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (คนทั่วไปที่ไม่มีความเสี่ยงด้านพันธุกรรม จะเริ่มส่องกล้องที่อายุ 45 ปีขึ้นไป) วางแผนครอบครัว เตรียมตัวตั้งครรภ์ รวมถึงการใช้ชีวิตและไลฟ์สไตล์ที่ห่างไกลจากโรคมะเร็ง
สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง Targeted Therapy จะเป็นการรักษาอย่างตรงจุด ผลข้างเคียงน้อย สามารถใช้ได้ในผู้สูงอายุที่ไม่แข็งแรงพอที่จะรับยาเคมีบำบัด ประสิทธิภาพในการรักษาสูงถึง 80% เมื่อเทียบกับการให้เคมีบำบัดที่ได้ผลประมาณ 30%
หลังจากที่ได้รับคำแนะนำให้ตรวจยีนมะเร็งลำไส้ใหญ่ ที่ถ่ายทอดจากพันธุกรรมจากแพทย์ มีรายละเอียดการตรวจ ดังนี้
โปรแกรมตรวจยีนมะเร็งลำไส้ใหญ่ คลิก
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่