ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน หรือ Lumbar spondylolisthesis มาจากภาษากรีก spondylo แปลว่า กระดูกสันหลัง และคำว่า olisthesis แปลว่า เคลื่อน ซึ่งเป็นภาวะที่กระดูกสันหลังระดับบนเคลื่อนตัวไปข้างหน้าทับเส้นประสาท ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเดินระยะทางไกลไม่ได้เท่าเดิม มีการเซ หรือล้มได้ง่าย ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทพบประมาณ 6% ในประชากรทั่วไป โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มักเกิดในวัยกลางคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามยังพบอุบัติการณ์ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี 2.6% โดยมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและครอบครัว 26%
สาเหตุของอาการปวดหลังในผู้ป่วยกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท มักเกิดจากความไม่มั่นคง (Instability) ของแนวกระดูกสันหลัง โดยเริ่มจากหมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อกระดูกสันหลังเสื่อม ทำให้กระดูกสันหลังเกิดการเคลื่อนตัวออกจากกัน ส่งผลให้โพรงเส้นประสาทตีบแคบ จนไปกดทับเส้นประสาท
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนสามารถแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ
ในเด็ก
มักไม่มีอาการ เป็นการค้นพบโดยไม่ได้ตั้งใจในการเอกซเรย์ หรือมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่าง อาการที่พบ ดังนี้
ในผู้ใหญ่
อาการแสดงที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่
อาการที่พบบ่อยเป็นอันดับสอง
แพทย์สามารถระบุความรุนแรงของภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนได้จากผลการเอกซเรย์ โดยใช้เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของ Meryerding classification ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
การผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท สามารถทำได้ ดังนี้
ผู้ป่วยควรเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัด ดังนี้
หลังจากการผ่าตัดกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทควรปฏิบัติตัว ดังนี้
หลังผ่าตัด หากแผลมีอาการปวดไม่ลดลงตามเวลาที่ผ่านไป บวม แดง ร้อน มีไข้ หรืออาจมีสารคัดหลั่งออกมาจากแผล ปวดหลังมากผิดปกติ ควรรีบกลับมาพบแพทย์
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีคำถามและความวิตกกังวลถึงผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด เช่น เสียวร้าวลงขา กลัวเดินไม่ได้ หรืออาการปวดหลังไม่หาย โดยปกติแล้วความเสี่ยงจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทมีน้อยมาก เนื่องจากเทคนิคการผ่าตัดมีการพัฒนาขึ้นทำให้มีผลข้างเคียงน้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
อย่างไรก็ตามทุกการรักษาอาจมีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ดังนี้
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัด ก่อนการผ่าตัด แพทย์จะต้องประเมินผู้ป่วยอย่างละเอียด ตรวจสอบประวัติการแพทย์และตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมถึงการใช้ภาพวินิจฉัย เช่น MRI หรือ CT scan เพื่อประเมินสภาพของกระดูกสันหลังและเส้นประสาท รวมถึงการเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยมากที่สุด การใช้เทคนิคการผ่าตัดที่ทันสมัยร่วมกับเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัดและลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทและเนื้อเยื่อสำคัญอื่น ๆ มีการแนะนำเกี่ยวกับการพักฟื้น การออกกำลังกาย และกิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ
หากมีอาการผิดปกติหลังการผ่าตัด ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการดูแลและรักษาที่เหมาะสม
การทำกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดกระดูกสันหลังเป็นส่วนสำคัญในการฟื้นฟูร่างกาย ช่วยลดอาการปวด เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวและการทำงานของกระดูกสันหลังดีขึ้น ซึ่งแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วย ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และความสามารถในการเคลื่อนไหว ก่อนการทำกายภาพบำบัดหลังผ่าตัด ซึ่งประกอบไปด้วย
สมิติเวช มีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ที่ทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท นอกจากแพทย์ด้านกระดูกสันหลังและข้อที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาและการผ่าตัดแล้ว ยังมีทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด พร้อมด้วยเครื่องมือที่ช่วยในการฟื้นฟูที่ทันสมัยแบบ Medical Grade มีสระธาราบำบัด (Hydrotherapy) ใช้คุณสมบัติของน้ำในการรักษาและฟื้นฟูร่างกาย แรงลอยตัวของน้ำช่วยลดน้ำหนักที่ข้อต่อและกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวในน้ำเป็นไปได้ง่ายขึ้นและเจ็บปวดน้อยลง ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้ความหนืดของน้ำเป็นแรงต้าน จึงมั่นใจได้ว่า หลังการผ่าตัดและรักษา ผู้ป่วยจะหายจากอาการเจ็บ หรืออาการจะทุเลาลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่