แม้ภาวะน้ำหนักตัวน้อยหรือมากผิดปกติ บ่อยครั้งจะเกิดจากโภชนาการและการปฏิบัติตัว แต่หลายครั้งปัญหาดังกล่าวก็อาจเกิดจากโรคในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ทั้งภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินได้ด้วย นอกจากนี้ ภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติอาจเป็นสัญญาณแรกของมะเร็งต่อมไทรอยด์ การวินิจฉัยและรักษาให้ได้อย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญอย่างมาก
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ อยู่ส่วนหน้าของลำคอ ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) และต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมการลดและเพิ่มของน้ำหนักตัว อัตราการเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย การย่อยอาหาร และช่วยด้านพัฒนาการทางสมองในเด็กทารก
ความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ แบ่งได้ เป็นสองชนิดคือภาวะพร่องไทรอยด์และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน
สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน เช่น ภาวะ Grave (Grave’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ภาวะก้อนของต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule) ต่อมไทรอยด์อักเสบ การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์
1) ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือ ไทรอยด์ต่ำ อาการเป็นอย่างไร
ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroidism) หมายถึงภาวะที่ร่างกายผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนได้น้อยกว่าปกติ ทำให้ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น
หากฮอร์โมนไทรอยด์ลดต่ำลงเป็นอย่างมากอาจทำให้ อุณหภูมิร่างกายต่ำ ซีด สับสน หัวใจวาย มีภาวะไม่รู้สึกตัว (myxedema coma) และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ภาวะพร่องไทรอยด์เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะ Hashimoto (Hashimoto’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ลดลง การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน การขาดสารไอโอดีน จากกรรมพันธุ์ หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
หากฮอร์โมนไทรอยด์ลดต่ำลงเป็นอย่างมากอาจทำให้ อุณหภูมิร่างกายต่ำ ซีด สับสน หัวใจวาย มีภาวะไม่รู้สึกตัว (myxedema coma) และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ภาวะพร่องไทรอยด์เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะ Hashimoto (Hashimoto’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้ลดลง การอักเสบของต่อมไทรอยด์ การรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน การขาดสารไอโอดีน จากกรรมพันธุ์ หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
2) ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism) หรือ ไทรอยด์เป็นพิษ อาการเป็นอย่างไร
ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism) คือภาวะที่ร่างกายผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ ส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น
สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน เช่น ภาวะ Grave (Grave’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ภาวะก้อนของต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule) ต่อมไทรอยด์อักเสบ การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์
สาเหตุของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน เช่น ภาวะ Grave (Grave’s disease) เป็นภาวะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งผลต่อต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ ภาวะก้อนของต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule) ต่อมไทรอยด์อักเสบ การรับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป หรือจากมะเร็งต่อมไทรอยด์
ฮอร์โมนไทรอยด์ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเผาผลาญของร่างกาย หากร่างกายมีฮอร์โมนไทรอยด์น้อยจนเกินไปก็อาจทำให้การเผาผลาญของร่างกายน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เกิดการสะสมพลังงานในร่างกายมากขึ้น
ไทรอยด์ อ้วน : ความไม่สมดุลของฮอร์โมนไทรอยด์ก็อาจทำให้เกิดการสะสมของน้ำและเกลือแร่ซึ่งก่อให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินได้ โดยผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องไทรอยด์จะมีน้ำหนักเปลี่ยนแปลงได้ แม้มีภาวะพร่องไทรอยด์เพียงเล็กน้อย และหากมีอาการมากขึ้นก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักได้ถึง 5-15 กิโลกรัมเลยทีเดียว
ไทรอยด์ ผอม : ส่วนในผู้ที่ฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ก็อาจเกิดภาวะผอมเกินไป น้ำหนักไม่ขึ้นแม้จะพยายามกินเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วร่วมด้วย
การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนอย่างเพียงพอสามารถป้องกันภาวะพร่องไทรอยด์จากการขาดสารไอโอดีนได้ และการลดหรืองดสูบบุหรี่จะช่วยลดการเกิดโรคจากไทรอยด์ได้บางส่วน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีวิธีที่แน่นอนที่ช่วยป้องกันโรคจากไทรอยด์ได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรรับการตรวจติดตามเป็นระยะ และผู้ที่มีอาการของภาวะไทรอยด์ผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
อย่างไรก็ตาม วิธีการผ่าตัดแบบไร้แผลก็มีข้อจำกัด โดยไม่แนะนำในผู้ที่ขนาดก้อนใหญ่เกิน 6 ซม. ขึ้นไป ผลการตรวจชิ้นเนื้อพบว่าไม่ใช่มะเร็ง ผู้ป่วยไม่เคยผ่าตัดบริเวณคอหรือคางและไม่เคยรับการฉายแสงบริเวณคอมาก่อน และการทำงานของต่อมไทรอยด์ไม่ผิดปกติก่อนการผ่าตัด
ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ สามารถส่งผลกระทบถึงน้ำหนักตัวและระบบอื่น ๆ ของร่างกายได้ การปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจและรับการรักษาอย่างรวดเร็วจึงมีความสำคัญและจะช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนได้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่