ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมีความเสี่ยงต่อการป่วยที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังและอาการต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันพอกตับ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคมะเร็งต่างๆ
แต่คนผอมก็ใช่ว่าจะสุขภาพดี ห่างไกลโรคภัยเสมอไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อยเมื่อตรวจร่างกายอาจพบว่ามีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และกระดุกพรุนได้เช่นกัน
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน เกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วนได้ ในผู้ใหญ่ชาวเอเชียที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากมีค่า BMI 18.5 – 22.90 แสดงว่า น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากน้อยกว่า 18.5 แสดงว่า อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยหรือผอม
ผู้มีภาวะผอม อาจมีสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น
โรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะในคนอ้วนเท่านั้น คนที่มีรูปร่างผอมเพรียวก็อาจตรวจพบโรคต่างๆ ได้เช่นกัน ซึ่งอาจเกิดมาจากพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด และอาจไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวเลยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
ไขมันในร่างกายประกอบด้วย ไขมันในหลอดเลือด ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง และไขมันในช่องท้อง ซึ่งมาจากอาหารที่รับประทานและจากที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเอง ทั้งนี้ โรคไขมันในเลือดสูง ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง ตีบ และอุดตัน ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง รวมถึงโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต การมีคุณภาพชีวิตลดลง และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
แม้โรคไขมันในเลือดสูงจะพบมากในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน แต่คนผอมก็มีปัจจัยเสี่ยงได้เช่นกัน เนื่องจากคนผอมบางกลุ่มมีพันธุกรรมหรือยีนที่รับประทานอย่างไรก็ไม่อ้วนแต่ร่างกายก็ยังกักเก็บไขมันไว้ในกระแสเลือด หรืออาจเป็นกลุ่มคนผอมที่เป็นโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม
ค่าความดันโลหิตปกติ ตัวบนไม่ควรเกิน 120 มม.ปรอท และตัวล่างไม่เกิน 80 มม.ปรอท สำหรับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง คือ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป ทั้งนี้ โรคความดันโลหิตสูง เป็นกลุ่มโรคที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไต เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระยะเริ่มแรกส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ แต่ตรวจพบโดยการตรวจสุขภาพประจำปี หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ มาก่อน โดยมีปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุที่มากขึ้นตั้งแต่ 40-50 ปีขึ้นไป พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะวัยหลังหมดประจำเดือน มีความเครียดและวิตกกังวลสูง รวมถึงมาจากพันธุกรรมมากถึง 30-40 % โดยพบว่าผู้ที่มีบิดาและมารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากกว่าผู้ที่บิดามารดาไม่ได้เป็นโรค
จะเห็นได้ว่าการมีค่าความดันโลหิตสูงนั้นไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัวแต่อย่างใด คนอ้วนหรือผอมก็สามารถตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งการรักษานั้นหากปรับเรื่องการดำเนินชีวิตและอาหารแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาความคุมความดันที่ถูกต้องและเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด
ต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์นั้นช่วยควบคุมการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ระดับอุณหภูมิของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด โดยในกรณีของผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย อาจเกิดจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ (Hyperthyroid) หรือเรียกว่าภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่อร่างกาย
โดยแสดงอาการได้หลากหลาย เช่น ใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ในเพศหญิงอาจประจำเดือนมาผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจ รวมถึงภาวะกระดูกบาง/พรุน จนกลายเป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มได้อีกด้วย สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคไทรอยด์เป็นพิษ สามารถทำได้ด้วยการเจาะเลือดเพื่อการตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ได้แก่ ไทรอกซีน (Thyroxine -T4) ไตรไอโอโดไธโรนีน (Triiodothyronine- T3) รวมถึงการอัลตร้าซาวด์ต่อมไทรอยด์
คนที่น้ำหนักน้อยหรือผอมมักมีความเสี่ยงต่อการมีค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนตามมาได้ การวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อรู้เท่าทันและป้องกันโรคกระดูกพรุนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการมีน้ำหนักตัวน้อย โดยผลตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก (Bone Mineral Density - BMD) มีค่าเป็น ที-สกอร์ (T-score) หากอยู่ระหว่าง -1 ถึง -2.5 แสดงว่ามีภาวะกระดูกบาง หากมีค่าต่ำกว่า -2.5 แสดงว่าเป็นโรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน เป็นภัยเงียบที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็น จนกระทั่งล้มแล้วกระดูกหัก สาเหตุของโรคมาจากการสูญเสียมวลกระดูก ส่งผลให้กระดูกเปราะและหักง่ายกว่าคนทั่วไป เพียงหกล้มหรือมีแรงกระแทกเบาๆ ไอหรือจาม ก็อาจให้กระดูกสะโพกหรือกระดูกสันหลังหัก ทำให้พิการหรือทุพพลภาพ และมีคุณภาพชีวิตลดลงได้ ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนและควรตรวจความหนาแน่นมวลกระดูกอยู่เสมอ เช่น ผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือนอายุประมาณ 50 ปี และผู้ที่มีน้ำหนักน้อย คือ มีค่า BMI น้อยกว่า 20
ไม่ว่าจะมีรูปร่างแบบไหน การตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคและการดูแลสุขภาพองค์รวมถือเป็นเรื่องสำคัญ กรณีพบค่าสุขภาพปกติหรือแม้ผิดปกติแต่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ก็ควรดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งหมายถึงการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีคุณภาพมากขึ้น ทั้งการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง โดยยึดหลัก “4อ” ดังนี้
โปรแกรมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ที่ช่วยสร้างสถิติใหม่ในการดูแลสุขภาพให้ดีด้วยตัวคุณเอง นอกจาก โปรแกรมการตรวจร่างกายแบบองค์รวมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงแล้ว ยังเพิ่มการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องระยะยาว ด้วยแนวคิด “เพื่อนคู่คิดสุขภาพ (Health Companion)” ช่วยดูแลแนะนำอย่างใกล้ชิดตลอดโปรแกรม ตามหลักคิด “4อ” หรือการเติมเต็ม 4 ปัจจัยหลักของการมีสุขภาพดีให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเติมเต็มความอุ่นใจและเสริมความมั่นใจให้คุณตลอดระยะการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ด้วยโปรแกรมเฉพาะบุคคล (Personalized program) ที่สามารถปรับให้เหมาะสมได้ตามไลฟ์สไตล์และเป้าหมายที่ต้องการ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีค่าสุขภาพผิดปกติและอยากดูแลตัวเอง หรือแม้กระทั่งมีค่าสุขภาพที่ปกติแต่อยากดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้นไปอีก โปรแกรม HEALTH RACE มีทีมแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ คอยดูแลอย่างใส่ใจ รวมถึงเครื่องมือที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณได้ไปถึงเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้
สำหรับผู้ที่มีผลการตรวจร่างกายแล้ว แต่สนใจเฉพาะการดูแลสุขภาพ สามารถเข้าร่วมโปรแกรม HEALTH RACE โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพซ้ำ สนใจโปรแกรม Health Race สามารถกรอกฟอร์ม พร้อมเบอร์ติดต่อให้ Health Companion ติดต่อกลับและให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้
*โปรดระบุ
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่