มนุษย์เรานั้นใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอนหลับ และคุณภาพของการนอนหลับนั้นส่งผลอย่างมากต่อสุขภาพ ประสิทธิภาพในการ
ทำงาน รวมถึงความเป็นอยู่ที่ดี งานวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดีกับผลเสียต่อสุขภาพ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง อารมณ์แปรปรวน ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น
เนื่องจากผู้คนจำนวนมากตระหนักว่าคุณภาพการนอนหลับเป็นองค์ประกอบสำคัญของชีวิต การวิจัยและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพการนอนหลับจึงเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2019 ธุรกิจที่ตอบโจทย์ด้านการนอนหลับทั่วโลกมีมูลค่ามากถึง 432 พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่ในทางกลับกัน จำนวนคนที่นอนหลับไม่เพียงพอหรือมีปัญหาด้านการนอนหลับกลับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือในการประเมินการนอนหลับ “โพลีซอมโนกราฟี” (Polysomnography - PSG) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ผสมผสานการตรวจหลายชนิดเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography -EEG) การบันทึกการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลูกตา (Electrooculography - EOG) การประเมินลักษณะการหายใจและการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อ (Electromyography -EMG) เพื่อประเมินลักษณะและคุณภาพของการนอนหลับ รวมถึงประเมินระดับความลึกของการนอนหลับ โดยสิ่งเหล่านี้สามารถบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการนอนหลับ ร่วมกับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้
แต่ด้วยราคาและความซับซ้อนของเครื่องมือที่จำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลทำการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ ทั่วร่างกายของผู้ป่วย รวมถึงการเข้าตรวจในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการนอนหลับตามธรรมชาติ ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากละเลยการเข้ารับการทดสอบการนอนดังกล่าวนี้
อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของอุปกรณ์สวมใส่ในปัจจุบัน ได้มีการนำเสนอทางเลือกสำหรับการตรวจสอบการนอนหลับที่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาของ PSG ด้วยระบบที่พัฒนาขึ้นใหม่ สวมใส่ได้ง่าย มีเซ็นเซอร์และตำแหน่งเฉพาะในการวัดสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ รวมถึงกิจกรรมของสมอง กิจกรรมของหัวใจ ข้อมูลเลือด การหายใจ และการเคลื่อนไหวขณะหลับ จึงเป็นการให้กำเนิดอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะที่สามารถประเมินการนอนหลับได้สะดวกสบายและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
การประเมินการนอนหลับอย่างแม่นยำถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจและประเมินบทบาทของการนอนหลับในด้านสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บ การเติบโตของเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติสุขภาพดิจิทัล ด้วยการผลิตอุปกรณ์สำหรับผู้บริโภคที่แปลกใหม่ มีความซับซ้อนสูง และมีราคาไม่แพง โดยสามารถรวบรวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์หลายตัวและดึงข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้ รวมถึงการนอนหลับได้
ในอดีตอุปกรณ์สวมใส่ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเพื่อติดตามการออกกำลังกาย แต่ปัจจุบันสามารถวัดสัญญาณชีวภาพได้หลายสัญญาณ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ การนำไฟฟ้าของผิวหนัง และอุณหภูมิร่างกาย อีกทั้งยังสามารถดึงข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ รวมถึงการนอนหลับออกมาได้ด้วยความสามารถในการเข้าถึงแพลตฟอร์มบนคลาวด์ที่ใช้สำหรับจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล ความสามารถในการใช้งาน ความแปลกใหม่ และราคาที่จับต้องได้ ทำให้อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และมีส่วนทำให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการนอนหลับมากขึ้น
โดยออกมาในรูปแบบของอุปกรณ์ติดตามการนอนหลับแบบสวมใส่ได้ เช่น
โดยอุปกรณ์เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ง่ายและมีราคาที่จับต้องได้ด้วยเช่นกัน
โดยปกติการทดสอบการนอนหลับ (Sleep Test) ด้วย PSG เป็นการประเมินการนอนหลับตามมาตรฐานของสมาคมวิชาชีพของสหรัฐอเมริกาที่เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับ (American Academy of Sleep Medicine -AASM) ด้วยการตรวจวัดดังนี้
เมื่อได้ผลจากการทำ Sleep Test แล้ว แพทย์จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และแปลผลเพื่อวินิจฉัยความผิดปกติต่างๆ พร้อมทั้งประเมินความรุนแรง ซึ่งจะพิจารณาจากการหยุดหายใจขณะหลับ ระดับออกซิเจนในเลือดขณะหลับ ภาวะเคลื่อนไหวและพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ นอนแขนขากระตุกขณะหลับ การละเมอ ภาวะนอนไม่หลับ และความผิดปกติอื่นๆ โดยสิ่งสำคัญคือ ตัวเลขของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือ Apnea Hypopnea Index (AHI) ซึ่งจะบอกถึงระดับความรุนแรงของการหยุดหายใจ
ทางเลือกใหม่ที่ได้รับการยอมรับสำหรับการทดสอบการนอนหลับ คือ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะที่เรียกว่า แอคติกราฟ (ActiGraph) ซึ่งจะตรวจจับการเคลื่อนไหวต่างๆ ขณะหลับ โดยสามารถช่วยวินิจฉัยอาการผิดปกติของการนอนหลับได้ รวมถึงประเมินสถานะการนอนและตื่น โดยสมมติฐานง่ายๆ ที่ว่าการเคลื่อนไหวบ่งบอกถึงการตื่น และการไม่เคลื่อนไหวบ่งบอกถึงการนอน ผ่านอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก สะดวกสบาย และมีคุณสมบัติกันน้ำ สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ต่อเนื่อง รวมถึงได้รับการออกแบบมาให้สวมใส่ได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน
และจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้มีการใช้เซ็นเซอร์ต่างๆ เข้ามามีบทบาทในอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะมากขึ้นโดยการทำให้มีขนาดเล็กลง ใช้พลังงานต่ำ ต้นทุนต่ำ เพิ่มการเชื่อมต่อและการทำงานของเซ็นเซอร์ชีวภาพ ทำให้อุปกรณ์สวมใส่รุ่นใหม่สามารถบันทึกสัญญาณชีวภาพในช่วงกว้างได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้เทคโนโลยีโฟโตพลีทิสโมกราฟีแบบออปติคัล (Photoplethysmography -PPG) ที่สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณหลอดเลือดฝอยที่อยู่ใต้ผิวหนัง ด้วยลำแสงหรือเซ็นเซอร์ในการวัด จะสามารถวัดค่าออกซิเจนในเลือดและการวัดชีพจร ซึ่งช่วยยกระดับการจำแนกระยะการนอนหลับได้ รวมถึงเป็นตัวบ่งชี้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจในระหว่างการนอนหลับได้อย่างน่าเชื่อถือ ทำให้ผู้สวมใส่สามารถตรวจวัดและดูแลสุขภาพการนอนหลับเบื้องต้นได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ท่ามกลางตารางงานที่เคร่งครัด หลายคนมักประสบปัญหาการนอนหลับ อุปกรณ์สวมใส่ที่มีความสามารถในการติดตามการนอนหลับจะให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าเกี่ยวกับรูปแบบและคุณภาพการนอนหลับ ผู้สวมใส่จึงสามารถฟื้นฟูจิตใจและร่างกาย โดยการปรับเปลี่ยนการนอนหลับได้
อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะสามารถติดตามระยะเวลา ความสม่ำเสมอ และคุณภาพของการนอนหลับโดยการตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหว และรูปแบบการหายใจ ข้อมูลดังกล่าวจะเผยให้เห็นปัญหาต่างๆ เช่น การนอนหลับไม่เพียงพอ การตื่นกลางดึก เปอร์เซ็นต์การนอนหลับตื้นเทียบกับการนอนหลับลึก เป็นต้น
การนอนหลับที่ดีต้องได้ทั้งชั่วโมงการนอนและคุณภาพการหลับ ดังนี้
การอดนอนหรือการนอนที่ไม่มีคุณภาพ อาจส่งผลให้หงุดหงิด ฉุนเฉียว หรืออ่อนล้า หากเกิดปัญหาการนอนบ่อยครั้ง อาจส่งผลกระทบถึงสุขภาพทางกาย จิตใจ และสังคมรอบข้างได้
จากงานวิจัยพบว่า การมีคุณภาพการนอนที่ดีอย่างสม่ำเสมอ เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลายแง่มุม ตั้งแต่เรื่องการคุมน้ำหนัก ลดอัตราการเกิดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ และเพิ่มภูมิคุ้มกัน
โดยผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับปรุงการนอนหลับ ส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ดังนี้
จากการพัฒนาเทคโนโลยีของอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะเพื่อสุขภาพได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตั้งแต่เครื่องมือง่ายๆ สำหรับติดตามกิจกรรมทางกายไปจนถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงที่ตรวจสอบสัญญาณชีพ รูปแบบการนอนหลับ และอื่นๆ วิวัฒนาการนี้มีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพและส่งเสริมการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพด้วยความสามารถในการให้ข้อมูลด้านสุขภาพอันมีค่าผ่านการตรวจติดตามปัญหาการนอนหลับได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำให้ผู้คนสามารถควบคุมและดูแลสุขภาพการนอนหลับของตนเองให้ดีมากยิ่งขึ้นได้นั่นเอง
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่