กินอาหารไม่ใช้ช้อนกลาง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

กินอาหารไม่ใช้ช้อนกลาง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

HIGHLIGHTS:

  • หากตรวจเจอว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แม้จะยังไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ก็จำเป็นต้องรับรักษาก่อนที่อวัยวะต่างๆ จะถูกทำลาย
  • การรับประทานอาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคความดันโลหิตสูง
  • การซื้อยาลดความดันทานเอง อาจส่งผลร้ายและอันตรายแทรกซ้อน เช่น ไตวาย หน้า

หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่าการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ช้อน แก้วน้ำ หลอดดูด จะสามารถนำพาโรคติดต่อทางน้ำลายมาได้หลายโรคและบางโรคเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เช่น ไวรัสตับอักเสบ A

โรคที่สามารถติดต่อกันทางน้ำลาย ที่เรารู้จักกันดีมีหลายโรค เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบที่เกิดจากกการติดเชื้อแบคทีเรีย/และไวรัส โรคมือปากเท้าเปื่อย คางคูม โรคเริม ไวรัสตับอักเสบ A , E คอตีบ วัณโรค โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโดยเฉพาะไข้กาฬหลังแอ่น

แต่หลายคนมีคำถามว่า แล้วโรคเอดส์สามารถติดทางน้ำลายหรือจากการใช้ภาชนะร่วมกันได้มั้ย จริง ๆ แล้วสามารถตอบได้ว่าไม่ติด แต่คำตอบที่ดีที่สุดคือไม่ควรใช้ภาชนะร่วมกับผู้ใด ไม่ว่าผู้นั้นจะเจ็บป่วยหรือไม่ก็ตาม

ช้อนกลาง คือ ช้อนที่อยู่บนอาหารแต่ละจาน หรือแต่ละถ้วย แล้วผู้ที่กินอาหารใช้ช้อนกลางตักอาหารที่จะกินไปไว้ในจานของตนเองก่อน ไม่ใช่การนำ “ช้อนกลาง” ตักอาหารใส่ปากตนเอง

ช้อนกลางเปรียบเสมือน “กำแพงกั้นเชื้อโรค” ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย และการใช้ช้อนกลางยังช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อโรคจากน้ำลายลงสู่อาหาร ทำให้อาหารบูดเสียได้ช้าลงได้ด้วย

การใช้ช้อนกลางเป็นเรื่องของพฤติกรรมการกินที่ถูกสุขลักษณะ เหมาะสำหรับการกินอาหารร่วมกันหลายคน ทั้งในครัวเรือนของตนเอง และการกินอาหารร่วมกับผู้อื่นตามงานเลี้ยง ภัตตาคาร ร้านอาหารต่างๆ นอกจากนี้ ช้อนกลางช่วยลดความรังเกียจในการใช้อุปกรณ์ร่วมกันด้วย ถือเป็นมารยาททางสังคมที่ดีอีกอย่างหนึ่ง

ข้อแนะนำสำหรับหลาย ๆ คนที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้ช้อนกลาง

  • เตรียมช้อนสะอาด หรืออุปกรณ์ที่เหมาะกับชนิดของอาหารให้ครบตามจำนวนชนิดของอาหารที่จะกินอย่างน้อย 1 คันต่ออาหาร 1 ชนิด
  • ใช้ช้อนกลางที่เตรียมไว้ตักอาหารในสำรับอาหาร (กับข้าว) มาใส่ที่จานข้าว หรือถ้วยแบ่งของตนเอง
  • ห้ามใช้ช้อนกลางตักอาหารในสำรับเข้าปากโดยตรง
  • ช้อนกลางควรมีด้ามยาวที่เหมาะสม พ้นขอบภาชนะ หยิบจับสะดวก ใช้งานได้สะดวกตามประเภทชนิดของอาหารหันมาใช้ “ช้อนกลาง” ในการกินอาหารทุกครั้ง เพื่อสุขภาพที่ดีกันคะ

ขอขอบคุณที่เอื้อเฟื้อข้อมูล

  1. กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  2. ศูนย์ควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?