หากพบอาการท้องผูกที่กล่าวมาข้างต้นตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป ในช่วง 3 เดือน ถือว่ามีภาวะท้องผูกเรื้อรัง หรือกรณีพบว่าพฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงโดยไม่สามารถอธิบายได้และเป็นอย่างต่อเนื่อง ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
ปัญหาเรื่องการขับถ่ายไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย หากละเลยไม่ใส่ใจจนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังอาจส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคอันตรายอย่างมะเร็งลำไส้ได้อีกด้วย และด้วยสภาพเศรษฐกิจ สังคม อาหาร และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบัน ส่งผลทำให้เกิดปัญหาท้องผูก (Constipation) ซึ่งพบมากกว่าร้อยละ 30 ของประชาชนทั่วไป และมักพบในผู้สูงอายุ รวมถึงพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า แม้การมีอาการท้องผูกบ้างเป็นครั้งคราวจะเป็นเรื่องปกติ แต่หากภาวะท้องถูกไม่ได้รับการแก้ไข อาจนำไปสู่อาการท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งส่งผลต่อความเครียดและการใช้ชีวิตประจำวันได้
อาการท้องผูกมักเกิดขึ้นเมื่อของเสียหรืออุจจาระเคลื่อนผ่านทางเดินอาหารช้าเกินไป หรือไม่สามารถกำจัดออกจากทวารหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง อาการท้องผูก มีหลายสาเหตุ ดังนี้
การอุดตันในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนักอาจทำให้การเคลื่อนไหวของอุจจาระช้าลงหรือหยุดการทำงาน โดยปัจจัยต่างๆ ดังนี้
ปัญหาทางระบบประสาทอาจส่งผลต่อเส้นประสาทที่ทำให้กล้ามเนื้อในลำไส้ใหญ่และทวารหนักหดตัวและการเคลื่อนอุจจาระผ่านลำไส้ มีปัจจัยดังนี้
ความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของลำไส้อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาดังนี้
ฮอร์โมนช่วยให้ของเหลวในร่างกายสมดุล โรคและภาวะต่างๆ ที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลอาจทำให้ท้องผูก ได้แก่
ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการท้องผูก ได้แก่
การฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเบ่งถ่ายให้ทำงานถูกต้องและสามารถให้ผลดีในระยะยาว โดยทำการฝึกทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 – 40 นาที
ได้แก่ ขับถ่ายอุจจาระเมื่อรู้สึกครั้งแรก นั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม รับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ
เช่น ยาระบายในกลุ่มกระตุ้นกล้ามเนื้อลำไส้บีบตัว ยาระบายที่ออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำเพื่อให้อุจจาระมีปริมาณน้ำมากขึ้นและไหลกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ และยาเหน็บหรือยาสวนทวาร ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา ผู้ที่มีอาการท้องผูกไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเด็ดขาด
กรณีที่ผู้ป่วยท้องผูกจากภาวะที่ลำไส้เคลื่อนไหวช้าที่รักษาด้วยวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล รวมถึงมีความผิดปกติชัดเจนของกล้ามเนื้อและระบบประสาทของลำไส้ )
สิ่งต่อไปนี้สามารถช่วยป้องกันอาการท้องผูกเรื้อรังได้
พยายามสร้างตารางการขับถ่ายให้เป็นปกติ แม้ภาวะท้องผูกไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่หากละเลยปล่อยไว้จนเป็นภาวะเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและสร้างความเครียดขึ้นได้ ดังนั้นหากพบอาการท้องผูกควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือเข้ารับการตรวจเช็กและพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำและรักษา
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่