นอกจากนี้ยังพบว่าในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ที่ไม่ได้มีการรายงานอย่างเป็นทางการมีไม่ต่ำกว่า 3,000 คน โดยมักเกิดกับผู้สูงอายุวัย 45 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี แต่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตามหากคนไทยยังไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองก่อนที่จะเป็นมะเร็งลำไส้จะส่งผลให้มีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าใน 10 ปี
จากสถิติและตัวเลขดังกล่าวอาจสร้างความตกใจให้หลายคน แต่อย่างไรก็ตามมะเร็งร้ายตัวนี้สามารถตรวจคัดกรองโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ หากพบติ่งเนื้อ (Polyp) ที่ลำไส้ใหญ่ก่อนที่จะเป็นมะเร็งและตัดทิ้งได้มากกว่า 90 % หรือถ้าเป็นมะเร็งในระยะต้นๆ ยังสามารถรักษาได้หายขาด
การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่มักเริ่มจากกลุ่มติ่งเนื้อชนิดอะดีโนมาทัส (adenomatous polyps) ซึ่งเป็นติ่งเนื้อที่ยังไม่ทราบสาเหตุการเกิด โดยพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และมีโอกาสกลายเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แพทย์จึงมักแนะนำให้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นประจำ หากตรวจพบติ่งเนื้อดังกล่าวจะได้ตัดทิ้งก่อนที่จะกลายเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือหากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกก็สามารถรักษาก่อนมะเร็งจะแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ ถือเป็นการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้ผลวิธีหนึ่ง
มะเร็งหลายชนิดหาสาเหตุได้ไม่ทราบแน่ชัด มะเร็งลำไส้ใหญ่ก็เช่นกัน โดยปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง คือ
สมิติเวชรณรงค์ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากคุณอายุ 45+ หรือมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น พร้อมรับสิทธิพิเศษปรึกษาคุณหมอทางออนไลน์ ฟรี ! คลิกที่นี่
หลายครั้งที่ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ไม่แสดงอาการใดๆ ในระยะแรก อาการที่แสดงออกจึงอาจแตกต่างกัน ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของมะเร็งในลำไส้ใหญ่อีกด้วย ดังนั้นหากสังเกตพบว่ามีสัญญาณเตือนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง อย่าลังเลที่จะรีบนัดแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่
การตรวจประเมินเบื้องต้น เป็นวิธียับยั้งและป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี โดยแพทย์แนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองทั้งเพศชายและหญิงเมื่อมีอายุตั้งแต่ 45 ปี ดังนี้
หากผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะ 1 แพทย์ส่วนใหญ่จะใช้การผ่าตัดเนื้อร้ายออก ส่วนการรักษามะเร็งระยะ 2 และ 3 ที่เสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำอีก จะพิจารณาให้ฉายรังสีและยาเคมีบำบัดร่วมด้วย ซึ่งสามารถทำก่อนหรือหลังผ่าตัด
สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะ 4 นอกจากการผ่าตัดก้อนมะเร็งออก ร่วมกับการฉายรังสีรักษาแล้ว อาจมีการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมเพิ่มเติม ทั้งนี้หากผู้ป่วยที่ก้อนมะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียง แพทย์ต้องทำการรักษาไปตามอวัยวะนั้นๆ โดยพิจารณาแล้วแต่กรณี
ปัจจุบันยา Targeted Therapy มีบทบาทในการรักษามะเร็งอย่างมาก ด้วยประสิทธิภาพในการรักษาสูงเมื่อเทียบกับการให้เคมีบำบัดที่ได้ผลประมาณ 30% ในขณะที่การใช้ยา Targeted Therapy สามารถได้ผลสูงถึง 80% ยา Targeted Therapy เปรียบเสมือนสไนเปอร์ที่คอยซุ่มยิงเป้าหมายอย่างแม่นยำให้มะเร็งตายไปได้อย่างตรงจุด ผู้บริสุทธิ์จึงไม่ต้องล้มตาย เซลล์ที่ดีจึงไม่ต้องถูกทำลายไปด้วย แต่ใช่ว่าทุกคนที่เป็นมะเร็งจะสามารถรับการรักษาด้วยยา Targeted Therapy ได้ทุกคน
การรักษามะเร็งด้วยยา Targeted Therapy ให้ได้ผลดีต้องได้รับผลการตรวจที่แม่นยำ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียด เพราะอาการของคนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกัน การรักษาจึงต้องแตกต่างกันออกไป โดยใช้แนวทางการรักษาแบบ “Precision Medicine” หรือการแพทย์เฉพาะเจาะจง ทำให้รักษาได้ตรงจุดมากขึ้น ประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น ผลที่ได้จึงดีขึ้นตามไปด้วย
จะเห็นได้ว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นภัยใกล้ตัวที่แม้จะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงมากมายนั้นเกิดขึ้นจากพฤติกรรมของผู้ป่วย ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่ละเลยการออกกำลังกาย รวมถึงฝึกนิสัยการขับถ่ายเพื่อป้องกันภาวะท้องผูก นอกจากนี้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปรวมถึงผู้มีปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมควรเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี โดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ (FOBT) ซึ่งสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ทั้งนี้การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) ควรตรวจทุกๆ 10 ปี เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือหากตรวจพบในระยะแรกก็สามารถรักษาให้หายขาดได้
สมัครสมาชิกเพื่อจัดเก็บข้อมูลของคุณสำหรับการนัดหมายครั้งต่อไป
มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบที่นี่