อาหารสีเขียว
ผักผลไม้ที่มีสีเขียวมีสารสำคัญ คือ คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin) ฯลฯ ตัวอย่างผลไม้และผักสีเขียว ได้แก่ แอปเปิ้ลสีเขียว องุ่นเขียว กีวี ต้นบรอกโคลี คะน้า หน่อไม้ฝรั่ง อะโวคาโด กะหล่ำปลีสีเขียว แตงกวา ผักโขม
อาหารสีแดง
ผักผลไม้ที่มีสีแดงมีสารสำคัญ คือ ไลโคปีน (Lycopene) เบตาไซซีน (Betacycin) เควอซิทิน (Quercetin) เฮสเพอริดิน (Hesperidin) และสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin)ฯลฯ ตัวอย่างผลไม้และผักสีแดง เช่น สตรอว์เบอร์รี่ เชอรี่ แครนเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ ทับทิม องุ่นแดง แตงโม ดอกกระเจี๊ยบ มะเขือเทศ บีทรูท พริกแดง หอมแดง
อาหารที่สีม่วงและสีน้ำเงิน
ผักผลไม้ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงินมีสารสำคัญ คือ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และสารกลุ่มฟีนอลิก (Phenolic acid) ผลไม้และผัก ที่มีสีม่วงและสีน้ำเงิน ได้แก่ องุ่นสีม่วง บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ ลูกพรุน มะเขือม่วง กะหล่ำปลีสีม่วง มันสีม่วง ข้าวเหนียวดำ ข้าวลืมผัว เป็นต้น
อาหารสีเหลืองและสีส้ม
ผักผลไม้ที่มีสีเหลืองและสีส้มมีสารสำคัญ คือ แคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินเอ สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) และวิตามินซี (Vitamin C) ผลไม้และผักที่มีสีเหลืองและสีส้ม เช่น ส้ม กล้วย เสาวรส แคนตาลูป มะละกอ สับปะรด แครอท ฟักทอง มันเทศ ข้าวโพด มันฝรั่งหวาน พริกสีเหลือง
อาหารสีขาว
ผักผลไม้ที่มีสีขาวมีสารสำคัญ คือ เบต้า กลูแคน (Beta glucan) ซึ่งพบมากในเห็ด และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ผลไม้และผักที่มีสีขาวเช่น ลูกแพร์ น้อยหน่า ลิ้นจี่ มังคุด หัวไชเท้า ดอกกะหล่ำ ขิง กระเทียม เห็ด