โรคพันธุกรรมมีเป็นจํานวนมากกว่า 6,000-8,000 โรค บางโรคพบบ่อย เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) โรคเตี้ยแคระ (achondroplasia) โรคท้าวแสนปม (neurofibromatosis) โรคเลือดออกง่ายหยุดยากหรือฮีโมฟีเลีย (hemophilia) หรือโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (thalassemia) เป็นต้น ในขณะที่มีโรคอีกจํานวนมากที่เป็นกลุ่มโรคหายาก หรือโรคที่วินิจฉัยหาสาเหตุได้ยาก (rare disease) โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมาก่อน เช่น ภาวะพัฒนาการล่าช้า (intellectual disability) ภาวะออทิสติก (autistic spectrum disorder) และโรคลมชัก (epilepsy) เป็นต้น แต่ด้วยจํานวนโรคที่หลากหลายพบว่าประมาณ 6-8% ของประชากรอาจมีการเจ็บป่วยด้วยโรคหายากโรคใดโรคหนึ่ง และผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากการได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มมีอาการของโรค ในปัจจุบันการวินิจฉัยและรักษาโรคพันธุกรรมมีความก้าวหน้าไปมาก มีการใช้การแพทย์ระดับจีโนมิกส์ (genomic medicine) โดยอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรม (genetics) หรือข้อมูลในระดับโมเลกุลของบุคคลนั้นๆ นำไปสู่การรักษาด้วยการแพทย์แม่นยำหรือการแพทย์เฉพาะบุคคล (precision medicine หรือ personalized medicine) เพื่อมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย การเลือกรูปแบบการรักษา การเลือกใช้ยา รวมถึงการป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพ ที่ตรงจุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยเป็นรายบุคคล ซึ่งจําเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ช่วยในการวินิจฉัยโรค ดูแลรักษา ตลอดจนการให้คำปรึกษาวางแผนครอบครัวในอนาคต
กลุ่มโรคที่ให้บริการตรวจวินิจฉัย มีดังนี้
การตรวจรักษาทางพันธุกรรม
การรักษา