นอนเต็นท์อย่างไรให้ปลอดภัย

นอนเต็นท์อย่างไรให้ปลอดภัย

HIGHLIGHTS:

  • สภาพอากาศและสถานที่เป็นปัจจัยสำคัญที่เราควรหาข้อมูลให้ละเอียดก่อนตัดสินใจไปกางเต็นท์ค้างแรม
  • แสงสว่างเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในยามค่ำคืน การพกไฟฉายและถ่านสำรองติดตัว จะช่วยให้เราปลอดภัยตามทางเดินที่อาจมีสัตว์เลื้อยคลานมีพิษ
  • ยาและอุปกรณ์ปฐมพยาบาล ควรมีติดตัวไว้เวลาเดินทางไกลไปในที่ห่างไกลชุมชน

สำหรับใครที่ชอบท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน หลังจากเหนื่อยกับงาน กับการเรียนที่หนักหน่วง หรือชอบที่จะออกไปใช้ชีวิตสัมผัสธรรมชาติ ท่ามกลางท้องฟ้าและหมู่ดาว การตั้งแคมป์ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก อีกทั้งยังไม่ต้องกังวลเรื่องการจองโรงแรมแม้จะเป็นช่วงเทศกาล การตั้งแคมป์ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ในขณะเดียวกัน การเตรียมพร้อมถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพื่อให้เราได้ตื่นมารับลมหนาวยามเช้าไปพร้อมๆ กับนั่งจิบกาแฟบนเก้าอี้แคมปิ้ง สัมผัสประสบการณ์อันล้ำค่าเหนือคำบรรยาย 

3 เรื่องที่เราต้องคำนึงก่อนไปนอนเต็นท์นอกสถานที่

1. สภาพอากาศและสถานที่

  • ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง ควรหลีกเลี่ยงฤดูฝน หน้ามรสุม หรือฤดูที่มีพายุเข้า 
  • เช็กทิศทางลมและแรงลมก่อนตั้งแคมป์ ควรหลีกเลี่ยง บริเวณภูเขาที่มีลมกรรโชกแรง หรือขวางทางลม อาจมีต้นไม้ ก้อนหินหรือเนินช่วยบังลมและบักสมอให้แข็งแรง
  • ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่อันตราย เช่น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ตายหรือแห้งผุ เพราะอาจตกใส่ ก่อให้เกิดความเสียหายได้
  • หลีกเลี่ยงการตั้งแคมป์ริมลำธารหรือริมน้ำมากเกินไป ป้องกันน้ำป่า ระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น หรือพิจารณาสภาพอากาศ ควรกางเต็นท์ห่างจากแหล่งน้ำและมีความสูงจากแหล่งน้ำพอสมควร 
  • ควรเลือกกางเต็นท์บริการที่สูง มีลักษณะอากาศที่ถ่ายเทดีกว่า แมลงหรือยุงน้อยกว่า 
  • ควรเลือกพื้นที่ราบหรือเอียงน้อย และเคลียร์พื้นที่ จัดการใบไม้ กิ่งไม้แห้งออก ในบริเวณที่จะกางเต็นท์ เพราะนอกจากจะเป็นเชื้อไฟแล้วยังเป็นแหล่งอาศัยสัตว์เลื้อยคลาน
  • ควรหลีกเลี่ยงแนวแอ่งกระทะ ทางน้ำไหลผ่าน เส้นทางหากินของสัตว์ป่า สังเกต รอยเท้าสัตว์ เช่น รอยเท้าเสือ รอยเท้าช้าง รวมถึงสอบถามผู้เชี่ยวชาญเส้นทางเพื่อความปลอดภัย

2. อุปกรณ์ที่ควรมี

  • เต็นท์ เต็นท์ที่มีการระบายอากาศ วัสดุกันน้ำ ทนแดด ยึดกับพื้นได้ดี และมีขนาดที่เหมาะสม
  • ผ้ารองเต็นท์(Foot print) สำหรับปูรองลดความชื้นจากด้านล่าง หรือในบริเวณที่พื้นไม่เรียบ 
  • ผ้าใบสำหรับกางบังเต็นท์(Fly Sheet) สำหรับกางบังลมและน้ำค้างในตอนกลางคืน 
  • ถุงนอน เลือดขนาดพอดีตัว น้ำหนักกำลังดี มีเนื้อผ้าเหมาะสมกับสภาพอากาศ

3. สิ่งที่ควรพกติดเต็นท์

  • ไฟฉาย ที่ให้ความสว่างเพียงพอในยามค่ำคืน 
  • ยาสามัญ ยาประจำตัว ยาปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น ยาแก้ปวด ลดไข้ ชุดทำแผลและพลาสเตอร์ยา 
  • อาหารกระป๋องและน้ำ 
  • มีดพก สำหรับตัดสิ่งที่จำเป็น และป้องกันตัว
  • หมวก ถุงมือ ถุงเท้าและเสื้อผ้าที่เหมาะสม กรณีไปค้างแรมหน้าฝนหรือหน้าหนาว 
  • สเปรย์หรือยาทากันยุง ป้องกันยุงป่าและแมลงรบกวน
คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?