ถามตอบ – ไขปัญหานมแม่

ถามตอบ – ไขปัญหานมแม่

HIGHLIGHTS:

  • เจ็บหัวนม หัวนมแตกควรให้ลูกดูดนมไหม ?
  • ถ้าต้องทานยาควรจะให้ลูกดูดน้ำนมแม่หรือไม่ ?
  • ควรจะปลุกลูก ให้ตื่นมาดูดน้ำนมแม่หรือไม่ ?

หัวนมและเต้านมของคุณแม่

หัวนมบอด หัวนมสั้นจะให้ลูกกินนมได้ไหม?

หัวนมบอด ควรได้รับการตรวจและแก้ไขตั้งแต่ก่กอนคลอดแนะนำให้ปรึกษาสุติแพทย์หรือ พยาบาลเมื่อมาฝากครรภ์

เต้านมเล็กจะมีน้ำนมพอให้ลูกกินหรือไม่

ปริมาณของน้ำนมไม่เกี่ยวกับขนาด แต่ขึ้นอยู่กับการกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ ให้ลูกดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง หรืออย่างน้อย 8 ครั้งในแต่ละวันในช่วงสัปดาห์แรกๆ ก็จะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกได้ ท่าอุ้มก็เป็นอีกปัจจัย เพราะท่าอุ้มที่ดีนอกจากจะช่วยให้ลูกดูดนมได้ถูกต้องแล้ว ยังช่วยป้องกันปัญหาหัวนมเจ็บ หัวนมแตกได้เป็นอย่างดี

เจ็บหัวนม หัวนมแตกควรให้ลูกดูดนมไหม?

ไม่ควรงดให้ลูกดูดนมถ้าเป็นไม่มาก สามารถให้ลูกดูดนมได้โดยมีเทคนิคดังนี้

  • ป้องกันโดยให้อมลึกและอุ้มให้ถูกทาง
  • ให้ลูกเริ่มกินจากข้างที่เจ็บน้อยก่อน
  • รอให้ลูกอ้าปากกว้างแล้วประคองลูกเข้าหาเต้า นมแม่ อมให้ลึก พอที่จะไม่รู้สึกเจ็บ
  • กอดลูกให้แนบตัวแม่มากๆเพราะจะช่วยให้เต้านมเข้าไปอยู่ในปากลูกมากขึ้นจะได้ไม่เจ็บเวลาลูกดูด
  • อาจพักข้างที่มีแผลสัก 3-4 มื้อหรือจนรู้สึกดีขึ้นแล้วค่อยกลับมากินจากเต้าทั้งสองใหม่ แต่ในระหว่างนั้นต้องบีบ
  • เก็บน้ำนมเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ

หัวนมแตกจะทำอย่างไร

  1. อุ้มลูกดูดนมให้ถูกท่า และปากลูกอมลึกถึงลานหัวนม (เหงือกลูกกดที่ลานหัวนม)
  2. เริ่มจากข้างที่เจ็บน้อยก่อนถ้าลูกดูดแรงแล้วค่อยเปลี่ยนข้าง พยายามให้ลูกดูดทั้งสองเต้า ในการดูดนมแต่ละครั้ง
  3. อย่าใช้สบู่หรือโลชั่นทาบนหัวนม จะทำให้หัวนมแห้งและแตก ควรทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่น บีบน้ำนมออกมาทาบริเวณหัวนม หลังจากลูกดูดนมแล้วทุกครั้ง หลังจากนั้นปล่อยให้หัวนมแห้งก่อนจึงใส่เสื้อชั้นใน
  4. ถ้าแตกเป้นแผลหรือเจ็บมาก งดให้ดูดข้างนั้นสัก 24 – 48 ชั่วโมง แผลหายแล้วจึงให้เริ่มดูดใหม่ ระหว่างนั้นระบายน้ำนมออกจากเต้าสม่ำเสมอ ทุก 3 ชั่วโมง โดยใช้มือบีบออกหรือใช้เครื่องปั๊มเบาๆ
  5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

แชทคุยสอบถาม หรือทำนัดหมายแพทย์กับเจ้าหน้าที่ Live Chat ได้เลย
หรือ โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 📞 คลิกที่นี่ (ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 9.00 – 15.00)

คุณภาพ น้ำนมแม่

อาหารอะไรบ้างที่ควรหลีกเลี่ยง

ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ควรรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่และหลากหลาย แต่ยังมีความต้องการอาหารเพิ่มจากปกติ 500 kcal เหมือนขณะตั้งครรภ์ ให้สังเกตว่าลูกของคุณมีปฏิกิริยากับน้ำนมแม่หลังจากที่คุณแม่ได้รับประทานอาหารบางอย่างหรือไม่ หากมีซ้ำๆ ควรปรึกษากุมารแพทย์ว่าแม่จำเป็นต้องเลี่ยงอาหารนั้นหรือไม่

ถ้าต้องทานยาควรจะให้ลูกดูด น้ำนมแม่ หรือไม่

กรณีที่คุณแม่ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังให้นมลูก เพื่อแพทย์จะได้เลือกใช้ยาที่ปลอดภัย โดยไม่ต้องงดให้นม มียาบางชนิดเท่านั้นที่มีการขับออกมาทางน้ำนมแม่ในปริมาณสูงพอที่จะทำให้เกิดอาการข้างเคียงในลูกได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

ทำอย่างไรจึงจะมีน้ำนมเพียงพอ

  1. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และไม่น้อยกว่าการตั้งครรภ์ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  2. ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ทุก 2-3 ชั่วโมงในระยะ2-3 สัปดาห์แรกจนมีน้ำนมมากพอและให้กินให้เกลี้ยงเต้า ลูกยิ่งดูดน้ำนมบ่อยน้ำนมจะมามาก
  3. ไม่ควรให้นมผสมจกหลอก, น้ำ หรืออาหารอื่นแก่ลูก เพราะจะทำให้ลูกดูดเต้าน้อยลงทำให้ น้ำนมแม่ มาน้อยลงและเพิ่มปัญหาการย่อยให้ลูก

คำถามยอดฮิตการ ให้นมลูก

ควรจะปลุกลูก ให้ตื่นมาดูด น้ำนมแม่ หรือไม่

ใน 2-3สัปดาห์แรกหลังคลอด การที่ลูกดูดบ่อยๆ จะเป็นการกระตุ้นให้แม่ผลิตภัณฑ์น้ำนมมากขึ้น ดังนั้น ควรให้ลูกดูดบ่อยๆ ถ้าเด็กหลับในระหว่างการให้น้ำนม ให้พยายามปลุกโดยการเปลี่ยน ผ้าอ้อม หรือ เปลี่ยนข้างให้ลูกดูดนม อย่าห่อตัวลูก ความอบอุ่นจะทำให้เด็กง่วงและจะทำให้ลูกไม่อยากดูดนม

ลูกมีอุจจาระทุก 1-2 วันถือว่า ปกติหรือไม่

ถือว่าปกติ ในอายุมากกว่า 1 เดือน เพราะเด็กที่รับประทานนมแม่อย่างเดียวอาจจะไม่มีอุจจาระเป็นเวลา 5-7 วัน เพราะน้ำนมแม่ย่อยง่าย ทำให้มีกากน้อยที่จะออกมาทางอุจจาระ หรือถ้าเด็กมีอุจจาระเหลวสีเหลืองหลายครั้งต่อวันก็เป็นเรื่องปกติอีกเช่นกัน

เมื่อต้องทำงานนอกบ้าน จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างไร

สำหรับเวิร์คกิ้งมัม หรือคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ก็สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ โดยในช่วงระหว่างลาคลอด 4 สัปดาห์แรก ควรให้ลูกดูดนมแม่จากเต้าอย่างเดียว 1 เดือนก่อนกำหนดที่ต้องกลับไปทำงาน ควรเริ่มทำการเก็บน้ำนมไว้ โดยการบีบหรือปั๊มนมที่บีบเสร็จแล้วควรเก็บในช่องน้ำแข็งทันที เพื่อเก็บไว้ใช้เวลาที่คุณแม่ไปทำงานหรือต้องออกไปข้างนอก

ควรจะให้ลูกดูดจากขวดนมมั้ยเวลาออกนอกบ้าน

ในหนึ่งเดือนแรกพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ขวดหรือจุกหลอดถ้าจำเป็น ควรป้อนด้วยช้อน หรือถ้วยป้อนนม เพราะลูกอาจสับสนระหว่างหัวนมแม่และจุกนมยาง และไม่ยอมดูดนมแม่อีกได้

เมื่อไหร่ควรจะให้อาหารตามวัย

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวใน6 เดือนแรก หลังจากนั้นจึงให้อาหารตามวัยร่วมกับน้ำนมแม่ไปเรื่อยๆ จนถึงอายุ 2 ปี

คะแนนบทความ

มีบัญชีผู้ใช้อยู่แล้ว?